การพัฒนาโปรแกรมการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองดีสำหรับเด็กที่สังกัดโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเขตพัฒนาพื้นที่พิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดน ภาคใต้ของจังหวัดสงขลา (Development Of An Education Program For Enhancing The Good Citizenship For The Youth In Special Administration Zone In Southern Border Of Songkhla Province)

Main Article Content

จุฑารัตน์ คชรัตน์ (Jutarat Kotcharat)

Abstract

               การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองดีสำหรับเด็กที่สังกัดโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเขตพัฒนาพื้นที่พิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ของจังหวัดสงขลา 2) พัฒนาศักยภาพของเด็กที่สังกัดโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเขตพัฒนาพื้นที่พิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ของจังหวัดสงขลาให้มีความรู้ พฤติกรรม เจตคติ เกี่ยวกับความเป็นพลเมืองดีเพื่อการพัฒนาทางสังคมและสามารถบูรณาการการแก้ไขสถานการณ์ความไม่สงบในท้องถิ่นได้ โดยได้ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) กลุ่มตัวอย่างคือเด็กนักเรียนที่สังกัดโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเขตพัฒนาพื้นที่พิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ของจังหวัดสงขลา 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอนาทวี และอำเภอจะนะ จำนวนทั้งสิ้น 6 โรงเรียน หลังจากนั้นผู้วิจัยทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) โดยวิธีการจับสลากตามรายชื่อโรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านประกอบออก อำเภอนาทวี  จังหวัดสงขลา โดยมีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5 จำนวน 33 คน เป็นกลุ่มทดลองและใช้รูปแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียวมีการวัดก่อนและหลังการทดลอง (Single - Group Pretest-Posttest Design)


               ผลการวิจัย พบว่า 1) ได้ผลผลิตเป็นโปรแกรมการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองดีสำหรับเด็กที่สังกัดโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเขตพัฒนาพื้นที่พิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ของจังหวัดสงขลา  ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ 9 เรื่อง ได้แก่ 1. มีความสามัคคีในหมู่คณะ 2. ยอมรับความแตกต่างและเคารพผู้อื่นที่แตกต่างจากตัวเอง 3. มีความกล้าหาญในการกระทำสิ่งที่ถูกต้อง 4. มีการตัดสินใจที่ดี  5. มีวินัยและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง 6. มีจิตสำนึกรักษ์บ้านเกิดและกตัญญูต่อแผ่นดิน 7. มีจิตสาธารณะ เต็มใจช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ 8. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และ 9. มีความซื่อสัตย์และยุติธรรม 2) ผลการทดลองใช้โปรแกรมการศึกษาที่พัฒนาขึ้น ในด้านความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองดีสำหรับเด็กที่สังกัดโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเขตพัฒนาพื้นที่พิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ของจังหวัดสงขลา พบว่า  การเปรียบเทียบความรู้และพฤติกรรมความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองดีของเด็กที่สังกัดโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเขตพัฒนาพื้นที่พิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ของจังหวัดสงขลานักเรียนมีความรู้และพฤติกรรมความเป็นพลเมืองดีสูงกว่าก่อนใช้โปรแกรมการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.01 นักเรียนมีระดับพฤติกรรม  ความเป็นพลเมืองดีอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย( gif.latex?\bar{x})=2.93,ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.31) เมื่อพิจารณารายพฤติกรรมพบว่าอยู่ในระดับสูงทุกพฤติกรรม มีค่าเฉลี่ย ( gif.latex?\bar{x})ระหว่าง2.52 – 3.25 และนักเรียนมีเจตคติต่อโปรแกรมการศึกษาฯในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} ) = 3.60 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.33)


 


                  This research aims to 1) develop an educational program to promote citizenship of students in schools under the jurisdiction of Border Patrol Police Bureau in the Southernmost Special Development Area of Songkhla province 2) develop capacity of the students, particularly their knowledge, behavior and attitude toward citizenship, as they can use to develop their society and may be a solution for violence problems in this area. The sample of the present study were Grade 4 - 5 students in Banprakobok Border Patrol Police school. They were randomly selected through Stratified Sampling method. Single - Group Pretest-Posttest Research Design were employed in the current study.


             There were two key findings of this research. Firstly, the developed educational program which aimed to promote citizenship of students in schools under the jurisdiction of Border Patrol Police Bureau in the southernmost special development area of Songkhla province comprised of nine components of citizenship whichwere 1.Unity of group 2. Acceptation of difference and respect of others 3. Bravery to do right things 4. Proper decision making 5. Self-discipline and responsibility 6. Be love and gratefulness to home town 7. Spirit is always willing to help others. 8. Adore to nation, religion, and HM the King 9. Honesty and justice. Secondly, the program was trialed in target group students and found that knowledge and behavior in citizenship of the students were significantly higher after they participated in the program.In summary, their citizenship behavior were at a high level (Mean = 2.93 Standard Deviation = 0.31) and all components were also at high level (Mean ranged from 2.52 – 3.25). The students’ attitude toward the developed program was at a very high level (Mean = 3.60 Standard Deviation = 0.33)

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ