ปัจจัยที่เป็นเหตุและผลของการรับรู้การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของ ร้านกาแฟสด จังหวัดปทุมธานี (Antecedents and Consequence Process of product creation for the environment of coffee in Pathumthani Province.)

Main Article Content

อโนชา จันทร์กลิ่น (Anocha Janklin)
จันทนา แสนสุข (Jantana Sansook)

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การรับรู้การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม และความภักดีต่อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมส่งผลต่อการรับรู้การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม และ 3) เพื่อศึกษาการรับรู้การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อความภักดีต่อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคกาแฟสด จังหวัดปทุมธานี จำนวน 385 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอย ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า 1) ระดับความคิดเห็นต่อความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม และความภักดีต่อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก โดยทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม และการรับรู้การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับปานกลาง 2) ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมส่งผลทางบวกต่อการรับรู้การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม และ3) การรับรู้การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลทางบวกต่อความภักดีต่อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของร้านกาแฟสด จังหวัดปทุมธานี ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยจะเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการร้านกาแฟนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงและพัฒนาแนวทางในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมให้ผู้บริโภคเกิดความภักดีมากยิ่งขึ้น


 


              The purposes of this research were : 1) to study the knowledge of the environment, environment products of attitude, environmental conservation, recognition creativity of environmentally  products, environmental  products  Loyalty. 2) to study the knowledge of the environment, environment  products of attitude, environmental conservation affect to recognition creativity of environmentally  products  and 3) to study the recognition creativity of environmentally  products affect to environmental  products  loyalty. The samples of this study were 385 of consumer on fresh coffee in Pathumthani province. The data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and simple regression analysis. The results found that 1) the opinions level toward the knowledge of the environment, environmental conservation, and environmental  products  loyalty were at a high level. and environment  products of attitude, recognition creativity of environmentally  products were at a medium level. 2) The knowledge of the environment, environment  products of attitude, environmental conservation affect to recognition creativity of environmentally products. And 3) The Recognition creativity of environmentally  products affect to environmental  products  loyalty of  consumer on fresh coffee in Pathumthani province. The result of the research will be a guide for coffee shop operators to use to improve and develop ways to create products for the environment to make consumers more loyal.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

กนกอร นิลวรรณจะณกุล. “ความรู้และทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะบริหารศาสตร์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2555.
เกศนา ไลซานดร้า ยะเสน. “ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความจงรักภักดีของลูกค้าในการใช้สินค้าและบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์” วิทยานิพนธ์ปริญญารบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.2553
ขนิษฐา ยาวะโนภาส. “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ฉลากลดคาร์บอน : กรณีศึกษานักศึกษาปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กรุงเทพมหานคร” วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,2553
ณัฐณิชา นิสัยสุข. “ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค”, วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ, มหาวิทยาลัยสุรนารี, 2556.
ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท และคณะ. หลักและวิธีการตลาดเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8, กรุงเทพมหานคร : วังอักษร, 2543
ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์. “วิกฤตขยะบกสู่แพขยะในทะเล” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://www.eric.chula.ac.th/ej/v21y2560/no4/ap54_4_2560.pdf, 19 มีนาคม 2560
มัตธิมา กรงเต้น. “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความจงรักภักดีของลูกค้าต่อตราสินค้าร้านคาเฟ่อเมซอนในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. เขตเทศบาลเมืองนครปฐม” วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการประกอบการ, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2555
ศศิมา สุขสว่าง“การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://www.sasimasuk.com/, 9 มีนาคม 2560
สรัญ รังคสิริ“คนรักษ์โลกด้วยแก้วย่อยสลายได้ 100%” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://www.thairath.co.th/content/331756., 1 มีนาคม 2560
สันทนา อมรไชย“ผลิตภัณฑ์สีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก:https://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_j/2552_57_179_P29_36.pdf, 26 มีนาคม 2560
สุพรรณี จันทร์รัสมี. “ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อความภักดีในตราสินค้า ในตราสินค้าของเครื่องสำอางระดับบน (La mer Laprairie และ Sisley) ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลของคนในเขตกรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโวฒ. 2550
อดุลย์ จาตุรงคกุล และดลยา จาตุรงคกุล. พฤติกรรมผู้บริโภค. พิมพ์ครั้งที่ปรับปรุงใหม่. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2550.
อดุลย์ จาตุรงคกุล. พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2539.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. 3d ed. New York : John Wiley and Sons Inc.
Engel, F.J.,& Blackwell, R. Consumer Behavior 4th ed. New York: CBS. (1982)
Gomez, B. G., Arranz, A. G. and Cillan, J. G. (2006). The role of loyalty programs in behavioral and affective loyalty. Journal of Consumer Marketing, 23(7), 387-396.
Kollmuss, A. and J. Agyeman. Mind the Gap: Why do People Act Environmentally and What are the Barriers to Pro-environmental Behaviour, Environmental Education Research, 8(3), pp.239-260. 2002
McCarthy, E. Jerome &. Perreault William D, Jr. Basic Marketing. (10th ed). Illinois. Ridchard D. Irwin,Inc. (1990).
Paço, A. and Raposo, M., “Green” segmentation: an application to thePortugueseconsumer market. Marketing Intelligence & Planning 27/3, 364-379. (2008)