ข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียต่อกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ (Recommendations from stakeholders towards Public Participation Process for Project which may Affect Community Severely in Respect of Both the Quality of Environment, Natural Resources and Health)
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ และเพื่อสังเคราะห์กระบวนการมีส่วนร่วมที่ทุกฝ่ายพึงปราถนา ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสียที่เคยเข้าร่วมการรับฟังความเห็นของโครงการที่ต้องทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการ EHIA จำนวน 53 คน ผลการวิจัยพบว่าผู้มีส่วนได้เสียให้ข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำ EHIA ใน 4 ประเด็น ได้แก่ 1) รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนที่หลากหลายและระยะเวลาการรับฟังความเห็นที่ยืดหยุ่น 2) กระบวนการเตรียมความพร้อมก่อนจัดเวทีรับฟังความเห็น 3) การกำหนดบทบาทและระดับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม และ 4) การมีส่วนร่วมของประชาชนหลังจากรายงานได้รับความเห็นชอบ ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยคือควรปรับปรุงแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำ EHIA โดยเปิดโอกาสให้ผู้จัดรับฟังความเห็นออกแบบวิธีการรับฟังความเห็นที่หลากหลายและมีระยะเวลาการรับฟังความเห็นที่ยืดหยุ่น นอกจากนี้ ผู้วิจัยเสนอแนะให้ทำการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นระบบก่อนออกแบบวิธีการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม
The objectives of this research are to collect the suggestions from stakeholders towards public participation in EHIA projects and to develop desired process of public participation. In-depth interviews were carried out with 53 informants. The research result found that the stakeholders suggested 4 major recommendations towards public participation process in EHIA which included 1) various forms and flexible period of public participation, 2) preparation process before official public participation program, 3) identification of stakeholders’ roles and level of participation, and 4) public participation after approval of EHIA report. This research recommends revising the guideline by allowing various form of participation and unlock the specific period of participation. In additions, the research recommends to systematically conduct stakeholder analysis before designing public participation method for each group of stakeholders.