การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดและปัญหาในการแปลพาดหัวข่าวภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย (An Analysis of Errors and Problems in Translating News Headlines from English into Thai)

Main Article Content

จิตสุดา ละอองผล (JitsudaLaongpol)

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อผิดพลาดและปัญหาในการแปลพาดหัวข่าวภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อผิดพลาดและปัญหาในการแปลพาดหัวข่าวจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จำนวน 42 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบทดสอบวัดความรู้ในการแปลพาดหัวข่าวซึ่งเป็นพาดหัวข่าวที่นำมาจากเวปไซด์ของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์และแบบสอบถามปัญหาในการแปลพาดหัวข่าวภาษาอังกฤษ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน            


               จากการวิเคราะห์ผลประกฎว่าโครงสร้างที่พบข้อผิดพลาดในการแปลมากที่สุดคือ การใช้ present simple ร่วมกับ past participle โครงสร้างที่พบข้อผิดพลาดในการแปลน้อยที่สุดคือ การละ verb to be โดยสามารถจำแนกข้อผิดพลาดดังกล่าวออกเป็น 3 ประเภทเรียงจากจำนวนมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดดังนี้ (1) การแปลผิดความหมาย พบ 6 ลักษณะ ได้แก่ การเลือกใช้คำและการจับคู่คำไม่ตรงกับความหมาย ส่วนขยาย การสะกดคำ ประโยคลดรูป กาลและเครื่องหมายวรรคตอน (2) การแปลขาด และ (3) การแปลเกิน สาเหตุของข้อผิดพลาดที่พบในการแปลนั้นมาจากการขาดความรู้รอบตัว  ทักษะทางไวยากรณ์และคำศัพท์ที่เพียงพอ การแปลที่ยึดติดกับต้นฉบับและการขาดความรอบคอบ ในประเด็นปัญหาการแปลพาดหัวข่าว พบว่าผู้แปลมีปัญหาด้านโครงสร้างไวยากรณ์มากที่สุด (µ=3.63, σ =0.10) รองลงมาคือ ด้านความรู้รอบตัว (µ=3.38, σ=0.24) และ ด้านคำศัพท์และสำนวน (µ=3.36, σ=0.73) ตามลำดับ


 


                The study aimed to analyse errors and problems in translating news headlines from English into Thai. The sample group consisted of 42 second year students majoring in English at the Faculty of Humanities and Social Sciences, YalaRajabhat University during the second semester of the 2017 academic year. The research instruments were English news headlines, which were chosen from the website of the Bangkok Post and a questionnaire to find out their translation problems. The analysed data was presented in percentages, frequency, mean and standard deviation.


               The results revealed that the most frequent errors were found in translating the headlines using present simple and past participle together while the least frequent errors were found in translating the headlines where the ‘verb to be’ was omitted. The error categories in respectively included (1) mistranslation which covered six aspects: word choices and mismatching of words and their meanings, modifiers, misspelling, reduced clauses, tenses and punctuation marks, (2) under translation, and (3) over translation. The causes of these errors were the students’ limited background knowledge, inadequate grammatical and vocabulary skills, substantive adherence to the source language and carelessness. It was also found that the problems in the translation of headlines were grammatical structures (µ=3.63, σ=0.10), background knowledge (µ=3.38, σ=0.24) and vocabulary (µ=3.36, σ=0.73).

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ