การพัฒนาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติ ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามปลายเปิด (Development of Mathematical Creativity, Achievement and Attitude Application on “Fundamental of Data Analysis”of Mathayomsuksa 6 Students at Rachineeburana School, NakhonPathom Province Learning by Open-Ended Questions)

Main Article Content

จุฑามาศ ภู่นาค (Jutamas Punak)
เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล (Mathasit Tanyarattanasrisakul)
กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล (Kanitha Chaowatthanakun)
สวรส ศรีอนันตคม (Saowaroj Srianantakom)

Abstract

               การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามปลายเปิด 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามปลายเปิดกับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามปลายเปิด และ 4) ศึกษาเจตคติทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามปลายเปิดกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 49 คนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ของโรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) (กัลยา วานิชย์บัญชา, 2551) ดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นแบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มตัวอย่างเดียววัดผลก่อนและหลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามปลายเปิดแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และแบบวัดเจตคติทางคณิตศาสตร์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที


               ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามปลายเปิดสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามปลายเปิดผ่านเกณฑ์ร้อยละ70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามปลายเปิดสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) เจตคติทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามปลายเปิด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก


 


                The objectives of this research were to 1) compare mathematical creativity of mathayomsuksa 6 students before and after learned by open-ended questions. 2) compare of mathematics achievement application on “Fundamental of data analysis” after learned by open-ended questions with 70% criteria. 3) compare of student mathematics achievement application on “Fundamental of data analysis” of mathayomsuksa 6 students before and after learned by open-ended questions. And 4) study of mathematical attitude of mathayomsuksa 6 students after learned by open-ended questions. The research samples were 49 students in mathayomsuksa6 students in second semesters academic year 2017 at Rachineeburana School, NakhonPathom province. The research design was pre-experimental design with one-group pretest-posttest design. The research instruments comprising of learning plan by open-ended questions, mathematics creativity test, achievement test and mathematical attitude test. The data analyses applied were percentage, arithmetic mean, standard deviation and t-test.


               The result of this research indicates : 1) mathematical creativity of mathayomsuksa 6 students after learned by open-ended questions was higher than before at .05 statistical significant levels. 2) mathematics achievement application on “Fundamental of data analysis” after learned by open-ended questions was higher than 70% criteria at .05 statistical significant levels. 3) mathematics achievement application on “Fundamental of data analysis” of mathayomsuksa6 students after learned by open-ended questions was higher than before at .05 statistical significant levels. and 4) mathematical attitude of mathayomsuksa6 students after learned by open-ended questions was very high.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ