การออกแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง (Instructional Design by Using Local Wisdom for the Grade Seven Studentin Ko Kha District, Lampang Province)
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ2) ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวนจำนวน 28 คน ชาย 16 คน หญิง 12 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขต 35 อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งหมด 10 กิจกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า
นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง เกิดการเรียนรู้จากการนำภูมิปัญญาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนระดมสมอง เชื่อมโยงความรู้วิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น และสามารถอธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์ และสามารถวางแผน ออกแบบและดำเนินการตามกระบวนการที่วางแผนไว้ มีทักษะการแก้ปัญหา ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ (m=3.36, S.D.=0.36) อยู่ในระดับดี และมีความคิดสร้างสรรค์มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ (m=3.47, S.D.=0.57) อยู่ในระดับดีมาก
The purpose of this research were 1) to study the effect of instructional design activities by using local wisdom of matthayomsuksa 1 and 2) to enhance problem solving skills and creativity of mathayomsuksa 1 students who be taught by using local wisdom. Target group were 28 students contained by 16 boys and 12 girls who is the students in academic year 2560 students at the level of junior high school, the secondary educational service area office 35, ko kha district, lampang province. The instruments in the study were used 10 local wisdom knowledge management plans. Quantitative data were analyzed by descriptive statistics, i.e. mean and standard deviation. Result found that
The students were taught by using local wisdom, students had real practiced by themselves and had learn from the wisdom in teaching activities. The learning activities allows the learners to brainstorm, be linking science knowledge with local wisdom and could explain the scientific principle, could plan and design and implement planned processes. And also had problem solving skills. The mean and standard deviation were (m=3.36, S.D.=0.36) at good level. The mean and standard deviation of creativity were (m=3.47, S.D.=0.57) at excellent level.
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2546). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระและการงานอาชีพเทคโนโลยีตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์กรการรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ชาญประพน สวัสดิ์เดชะ. วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การวิจัยพัฒนาการอ่าน วิชาภาษาไทย ค้นข้อมูล จาก www.sl.ac.th/html_edu/sl/temp_emp_research/93.doc สื่อค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2561.
ไพรฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). หลักการคิดการจัดการหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัศนีย์ บุณแรง. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดโดยใช้ของเล่นพื้นบ้าน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น 11(3): 105-117.
ทัศนีย์ ทองไชย. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการจัดการความรู้ กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 7(2): 317-334.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2546). วิทยาศาสตร์ศึกษากับภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารศูนย์บริการวิชาการ 11(1): 65-68.
ประยูร บุญใช้และภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์. (2554). การวิจัยและพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเป็นฐาน สำหรับสถานศึกษาในชุมชนรอบหนองหาร จังหวัดสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา 12(58): 185-194.
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.
เปรมฤดี ปุโรทกานนท์ และคณะ. (2556). การศึกษาการนำแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ของโรงเรียนในจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 7(1): 159-168.
วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2547). เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง การสอนแบบบูรณาการคุณธรรมจริยธรรม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สุกัญญา สีสมบา. (2559). การพัฒนาการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาการออกแบบพัฒนาหลักสูตรของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ในการส่งเสริมสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะการแก้ปัญหาผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้เทคนิคการสอน 4MAT. วารสารครุพิบูล 3(2): 86-96.
ภาษาต่างประเทศ
Allan Feldman, Tarin Weiss. (1993). Suggestions for writing the action researchreport. University of Massachusetts Amherst: Posch & Somekh.
Creswel lJ.W., Plano Clark V.L. (2007). Designing and conducting mixed methods research.
Thousand Oaks, CA: Sage Publication.