การมีส่วนร่วมของชุมชนกับการพัฒนา: กรณีศึกษาองค์กรสอนดนตรีในชุมชนแออัด เขตคลองเตย จังหวัดกรุงเทพมหานคร (The participation of music organizations on community development project: a case of Khlongtoey)
Main Article Content
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศึกษาปรัชญาและการจัดการขององค์กรสอนดนตรีในชุมชนแออัด เขตคลองเตย จังหวัดกรุงเทพมหานครที่นำไปสู่การมีส่วนร่วมทางสังคมจำนวนสามองค์กร ได้แก่ โรงเรียนสอนดนตรีเอมมานูเอล กลุ่มมิวสิค แชริ่ง และคลองเตยมิวสิคโปรแกรม โดยศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนา มีวิธีการเก็บข้อมูลจากการทบทวนเอกสาร ผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเฉพาะเจาะจงที่เกี่ยวข้องกับองค์กรมาตลอดระยะเวลาเท่ากับหรือมากกว่า 3 ปี โดยมีเด็กและเยาวชนช่วงอายุ 10 – 20 ปีที่เข้าร่วมเรียนในองค์กร จำนวน 3 คน ผู้ปกครองของเยาวชน จำนวน 2 คน ผู้นำองค์กร และครูผู้แทนจากองค์กร จำนวน 2 คน และผู้นำชุมชนแออัดในพื้นที่ จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 24 คน และการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมจากองค์กรสอนดนตรีในชุมชนแออัดส่งผลต่อเยาวชน ผู้ปกครอง ครูในองค์กร ผู้คนทั้งภายใน และภายนอกชุมชนซึ่งแสดงให้เห็นการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมขององค์กรสอนดนตรีในชุมชนแออัด ในขณะเดียวกันก่อให้เกิดทุนทางสังคมระหว่างองค์กร เยาวชน ผู้ปกครอง ผู้คนทั้งภายในและภายนอกชุมชน เนื่องจากวิธีการจัดการในองค์กรส่วนใหญ่มาจากกระบวนการพูดคุยร่วมกันเพื่อวางแผน ประสานงาน และแก้ปัญหาตามหลักการมีส่วนร่วมทางสังคม แต่กระนั้นปัญหาขององค์กรด้านดนตรีภาคประชาชน เช่น การขาดแคลนบุคลากร งบประมาณ และการจัดการองค์ความรู้ยังคงเป็นปัญหาขององค์กรในปัจจุบัน
This paper aims to study philosophy and management with participation concept in three teaching music organizations in crowded community include Immanuel Music School, Music Sharing, and Khlongtoey Music Program (Playing for Change). The paper studies about the method was descriptive research that analyzed from literature review, in-depth interview, and participation in observation. The participants has been in the organization more than three years include three students between 10-20 years old, their parents, an organization’s leader and a volunteer’s teacher and a community leader. The study found that the activities from the teaching music organizations in the crowded community affects to youth, parents, volunteer teachers in organizations and people both inside and outside community and cause to participate in the activities of the teaching music organizations in the crowded community. In addition, these make the development of the potential of youth to play music, gain the good attitude and life skill. Meanwhile, these because the social capital among youth, parents, volunteer teachers, and people in societies which contribute to community development because the management of organizations are mainly from the process of participation: talking together to plan, coordinate and solve the problem. However, these people’s organization still confront with the problem of human resources, budget, and knowledge management which are still an issue today