กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาโครงการประเภทคมนาคม (Public Participation In Environmental Impact Assessment : Case Studies Of Transportation Projects)

Main Article Content

รัชศิริ ประดิษฐ์กุล (Ratchasiri Praditkul)
คนางค์ คันธมธุรพจน์ (Kanang Kantamaturapoj)

Abstract

             การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการประเภทคมนาคม และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการประเภทคมนาคม ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 14 คน แบ่งเป็นประชาชนที่เข้าร่วมกระบวนการรับฟังความคิดเห็นตามกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจำนวน 9 คนและตัวแทนจากนิติบุคคลผู้มีสิทธิทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นผู้จัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจำนวน 5 คน โดยผู้ให้ข้อมูลหลักทุกคนเป็นผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมการรับฟังความคิดเห็นในกรณีศึกษา 3 โครงการ ได้แก่ โครงการระบบทางพิเศษ, โครงการระบบขนส่งมวลชนที่ใช้ราง และโครงการระบบขนส่งทางอากาศ


               ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการประเภทคมนาคมยังไม่เป็นไปตามหลักการพื้นฐานของการจัดการมีส่วนร่วมของประชาชน เรื่อง        การเริ่มต้นเร็ว (Starting Early) ความจริงใจ (Sincerity) และวิธีการที่เหมาะสม (Suitability) สำหรับประเด็นการจำแนกผู้มีส่วนได้เสียโดยยึดหลักการรวมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไว้ให้มากที่สุดเป็นไปตามหลักการพื้นฐานของการจัดการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเด็นเรื่องครอบคลุมผู้ที่เกี่ยวข้อง (Stakeholders) อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติยังพบปัญหาเรื่องความไม่ชัดเจนในคำนิยาม ไม่มีการกำหนดระดับและรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มให้แตกต่างกัน


               งานวิจัยนี้เสนอให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมปรับปรุงแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) เพิ่มรายละเอียดคำนิยามของผู้มีส่วนได้เสียให้ชัดเจนมากขึ้น 2) กำหนดบทบาทของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มให้ชัดเจน และ 3) กำหนดรูปแบบของการ มีส่วนร่วมของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มให้แตกต่างกัน นอกจากนี้ ผู้วิจัยเสนอให้เจ้าของโครงการและผู้จัดกระบวนการรับฟังความเห็นลงพื้นที่เพื่อวางแผนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่เกี่ยวกับวิธีการและช่วงเวลาที่เหมาะสมในการจัดประชุมรับฟังความเห็น  ใช้ภาษาที่ประชาชนสามารถเข้าใจได้ง่าย  สื่อสารด้วยภาษาถิ่น และให้ข้อมูลโครงการที่จำเป็นเท่านั้นกับประชาชน  นอกจากนี้ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานของโครงการเป็นระยะควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน


 


               The purposes of this study are to study the problems of public participation in environmental impact assessment of transportation projects and to propose the suggestions to improve public participation processes in environmental impact assessment of transportation projects. Qualitative research method was employed. In-depth interviews was conducted to collect data. The informants included 9 Project Affected Person (PAPs) and 5representatives from the Environmental Consultant. These 14 informants had actively involved in the public participation process of 3 case studies including expressway projects, rail mass transit projects and air transport projects.


               The study found that the public participation process of the selected case studied did not follow the basic principles of public participation in terms of starting early, sincerity and suitability. Only stakeholder identification followed the principle of public participation because anyone is allowed to involve in the public participation process. However, there were some problems in practice such as confusion of the stakeholder’s definition. In additions, there was no differences in the level of participation of each stakeholder group.


               This study proposes the Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning to revise public participation guideline in three issues; 1) clearly re-define the definition of stakeholders’ groups, 2) determining the role of each stakeholder group, and 3) determining level of participation of each stakeholder group.In additions, this study recommends the project owner and the environmental consultants to consult with stakeholders about the appropriate methods and timing for the public participation meeting, to use easy and local language, to provide only necessary information to the public, and to allow public to monitor the operation of the project periodically, along with activities that demonstrate social and environmental responsibility to build good relationships with the community.


 

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

ภาษาไทย
1.โกวิทย์ พวงงาม. (2553). ธรรมาภิบาลท้องถิ่น: ว่าด้วยการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส. กรุงเทพมหานคร: มิสเตอร์ก็อปปี้.
2.คนางค์ คันธมธุรพจน์. (2557). ทุนนิยมกับสิ่งแวดล้อม: การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยกับการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคมและสุขภาพ. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 1(1), 66-85.
3.คนางค์ คันธมธุรพจน์. (2561). โครงการข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
4.คนางค์ คันธมธุรพจน์, กานดา ปิยจันทร์ และสุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ. (2561). ข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียต่อกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ. Veridian E-Journal Silpakorn University, 11(3), 363-382.
5.จินตวีร์ เกษมศุข. (2554). การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6.จินตวีร์ เกษมศุข. (2559). หลักการมีส่วนร่วมกับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
7.ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ. (2560). เวนคืนที่ดิน ผังเมืองใหม่ ราคาประเมินที่ดิน ทั่วประเทศ. กรุงเทพมหานคร.
8.ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). พลวัตการมีส่วนร่วมของประชาชน: จากอดีตจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. นนทบุรี: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.
9.ทานตะวัน อินทร์จันทร์. (2546). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนย่อยในเขตเทศบาลเมืองลำพูน. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
10.บุญชัย เกิดปัญญาวัฒน์. (2535). การศึกษาความเหมาะสมในการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล
11.ปฐมพร งามขำ. (2556). ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา: โครงการโรงไฟฟ้าทดแทน โรงไฟฟ้าแม่เมาะ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล.
12.ปิยะ ตั้งตรง. (2553). กระบวนการพิจารณาเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการประเภทโรงแรมและสถานพักตากอากาศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรม ศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
13.พันธุ์พงษ์ คงเดชอดิศักดิ์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
14.มานิดา เฟื่องชูนุช และจุฑารัตน์ ชมพันธุ์. (2559). เรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการขยายกำลังการผลิตโรงไฟฟ้ากระบี่. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, 10(2), 174-184.
15.ศักดิ์ณรงค์ มงคล. (2558). ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม. วารสารพัฒนาสังคม, 17(2), 87-112.
16.ศศิภา ปัญญาวัฒนาสกุล, ชมภูนุช หุ่นนาค, พลศักดิ์ จิรไกรศิริ และสมเจตน์ พันธุโฆษิต. (2559). พัฒนาการแนวความคิดการมีส่วนร่วมในการจัดการความรู้ชุมชน: กรณีศึกษาเขื่อนไผ่ชะลอคลื่นในพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดสมุทรสาคร. Veridian E-Journal Silpakorn University, 9(3), 29-47.
17.สถาบันวิจัยสังคม ร่วมกับสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย. (2545). โครงการพัฒนาการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
18.สุพรรณิการ์ กล่อมเกลี้ยง. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการรับฟังความคิดเห็นตามกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ศึกษากรณี จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล.
19.สุธิดา ฝากคำ. (2556). ระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม), สถาบันพัฒน บริหารศาสตร์.
20.สุวิจักขณ์ พูนศรีเกษม. (2556). ปัญหาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง
21.สนธิ วรรณแสง และคณะ. (2541). การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. ปทุมธานี: ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.
22.สุนัน บุญเมือง. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพกรณีศึกษา เขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 5(19), 7-17.
23.สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2549). แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคมในกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ยูโรการพิมพ์.
24.สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2556). แนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: เจ วัน แอดเวอร์ไทซิ่ง โซลูชัน.
25.สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). ระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด บี.วี.ออฟเซ็ต.
26.สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). โครงการหรือกิจการที่ต้องทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด บี.วี.ออฟเซ็ต.
27.สมลักษณา ไชยเสริฐ. (2549). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในคณะกรรมการตรวจสอบติดตามการบริหารงานตำรวจนครบาล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.
28.อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับผู้บริหารท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.
29.อุดมศักดิ์ สิทธิพงษ์. (2554). กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

ภาษาต่างประเทศ
30.Aloni C., Daminabo I., Alexander B. C., Bakpo M. T. (2015). The Importance of Stakeholders Involvement in Environmental Impact Assessment. Resources and Environment, 5(5), 146-151.
31.Boris Kabanoff. (1991). Equity, Equality, Power, and Conflict. The Academy of Management Review, 16(2), 416-441.
32.Chutarat C. & Suphattharachai C. (2012). Evaluating Public Participation Process in Development Projects in Thailand: A Case Study of the Hin Krut Power Plant Project. American Journal of Applied Sciences, 9(6), 865-873.
33.Cohen, J.M. & Uphoff, N.T. (1977). Rural Development Participation: Conceps and Measures for Project Design, Implementation and Evaluation. New York: The Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University”
34.Cordero, E., Pangalangan, E. and Fondevilla, R. (2000). Philippine encyclopedia of social work. Quezon City: Megabooks Company.
35.Dietz & Stern. (2008). Why Economic Analysis Supports Strong Action on Climate Change: A Response to the Stern Review's Critics. Review of Environmental Economics and Policy, 2(1), 94-113.
36.Doelle & Sinclair. (2006). Time for a New Approach to Public Participation in EA: Promoting Cooperation and Consensus for Sustainability. Environmental Impact Assessment Review, 26(2), 185-205.
37.Erwin, W. (1976). Participation Management: Concept Theory and Implementation. Atlanta: Georgia State University.
38.Franklyn Lisk. (1985). Popular Participation in Planning for Basic Needs: Concepts, Methods, and Practices. St. Martin’s Press.
39.Gene Rowe, Lynn J. Frewer. (2005). A Typology of Public Engagement Mechanisms. Science, Technology & Human Values, 30(2), 251-290.
40.Gunes & Coskun, (2005), Legal structure of public participation in environmental issues in Turkey. Journal of Environmental Assessment Policy and Management, 7(3), 543-568.
41.James L. Creighton. (2005). The Public Participation Handbook: Making Better Decisions through Citizen Involvement. San Francisco: Jossey Bass.
42.Kanang Kantamaturapoj, Ganda Piyajun & Suwit Wibulpolprasert. (2018). Stakeholder’s opinion of public participation in Thai environmental and health impact assessment. Impact Assessment and Project Appraisal, 36(5), 429-441.
43.Karl W. Deutsch. (1975). World order priorities. Environment and Society in Transition: World Priorities, 261(1), 261-262.
44.Liz McDaid & Lynette K., (2005), A framework to assess the role played by civil society in environmental decision-making in South Africa. Environmental Evaluation Unit, University of Cape Town.
45.MacKay, Angus. (1998). Concept and Process of Public Participation In Public Participation in Electric Power Projects (An Emerging Issue in Asia). Bangkok: Economic and Social Commission for Asia and the Pacific and United Nations Development Program.
46.Nicro, S., R.M. Friend & S. Pradubsuk. (2011). Environmental Governance in Asia: Independent Assessments of National Implementation of Rio Declaration’s Principle 10. Nonthaburi: Thailand Environment Institute.
47.Petts, J. (2003). Barriers to Deliberative Participation in EIA: Learning from Waste Policies, Plans and Projects. Journal of Environmental Assessment Policy and Management, 5(3), 269-293.
48.Robert B. Gibson. (2012). Impact Assessment and Project Appraisal. London: Taylor & Francis.
49.Shepherd, A., & Bowler, C. (1997). Beyond the requirements: improving public participation in EIA. Journal of environmental planning and management, 40(6), 725-738.
50.Uniteds Nation. (1981). Department of International Economic and Social affair. Popular Participation as Strategy for Program Community Level Action and Development. New York: United Nation.
51.Zhao Y. (2010). Public Participation in China’s EIA Regime: Rhetoric or Reality?. Journal of Environmental Law, 22(1), 89-123.