ความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้มัลติมีเดียร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริง ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยกระบวนการเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (Creative Thinking Of The Learners With Constructivist Multimedia Learning Environment And Augmented Reality To Promote Creative Thinking On The Topic Of Product Creation By Technological Process For Grade 8 Students)

Main Article Content

กฤษณา วาทโยธา (Kritsana Watayotha)
สุมาลี ชัยเจริญ (Sumalee Chaijaroen)

Abstract

               การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้มัลติมีเดียร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริงตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยกระบวนการเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านเหลื่อมพิทยาสรรพ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยก่อนการทดลอง(Pre-Experimental Designs)  แบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบหลังเรียน (One-shot case study) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้มัลติมีเดียร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริงตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ แบบสัมภาษณ์ความคิดสร้างสรรค์ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ที่ได้จากการวัดความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่  , S.D. และค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ที่ได้จากการสัมภาษณ์ความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน โดยใช้การวิเคราะห์โปรโตคอล (Protocol Analysis) และการบรรยายเชิงวิเคราะห์ (Analysis Description) ผลการวิจัยพบว่า ความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้มัลติมีเดียร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริงตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ฯ คิดเป็นร้อยละ 77.83  ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 70 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้เรียน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และพบว่าความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่ได้จากการวิเคราะห์โปรโตคอล ประกอบด้วย (1) ความคิดคล่องแคล่ว (2) ความคิดยืดหยุ่น (3) ความคิดริเริ่ม และ (4) ความคิดละเอียดลออ


 


              The purpose of this research was study the creative thinking of the learners. The study examined learning with constructivist multimedia learning environment and augmented reality to promote creative thinking on the topic of product creation by technological process for grade 8 students. The target group consisted of 30 students of grade 8, Banlueamphitthayasan School, second semester in academic year 2017. The methodology of research in this study was Pre-Experimental Design: One-shot case study. Research instruments include the constructivist multimedia learning environment and augmented reality to promote creative thinking, Creative Thinking Test, Creative thinking Interview form. Quantitative data analysis was analyzed as follow: the creative thinking of the learners from Creative thinking test was analyzed based on , s.d.  and percentage. Qualitative data analysis was analyzed as follow: the creative thinking of learners from creative thinking interview form is analyzed based on the protocol analysis and analysis descriptive. The research found that the creative thinking of learners who learned with the constructivist multimedia learning environment and augmented reality to promote creative thinking was 77.83 percent of all learners passed the pre-defined score (70% of all learners pass 70% of the full score). The finding from the protocol analysis found that the creative thinking of learners consists; (1) Fluency thinking (2) Flexibility thinking (3) Originality thinking and (4) Elaboration thinking.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

ภาษาไทย
คมสัน เอียการนา. (2553). การพัฒนารูปแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริม ความคิด สร้างสรรค์. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่ 34. (น.114-123) ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จารุณี ซามาตย์. (2552). การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมบนเครือข่ายตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริม การคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา เทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จุฬารัตน์ สียา และสุมาลี ชัยเจริญ. (2558). การศึกษาความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ที่เรียนรู้ จากสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบเปิดบนเครือข่ายที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ สาหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษา.การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ชุมพล จันทร์ฉลอง. (2558). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่องการสร้างภาพเคลื่อนไหว 2 มิติ แบบเฟรมต่อเฟรม. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 (เดือนกันยายน – เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558). หาวิทยาลัยวไลยอลงกรณ์.
บุญณิตา จิตรีเชาว์ บุญเรียง ขจรศิลป์ และ วารุณี ลัภนโชคดี.(2560). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้ แบบฝึกทักษะความคิดสร้างสรรค์ในวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.ฉบับ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2560. กรุงเทพมหานคร.
ปาจรีย์รักษ์ ถนอมทรัพย์, และ สุมาลี ชัยเจริญ. (2558). กรอบแนวคิดการออกแบบสิ่งแวดสิ่งแวดล้อม ทางการเรียนรู้บน เครือข่าย ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. การประชุมวิชาการระดับชาติ โสตฯ –เทคโนฯ สัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 29. (น.463-469). กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ภัทรภร ผลิตากุล. (2560). ผลของการใช้แนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนาตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการคิด สร้างสรรค์สาหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรี. Veridian
E-Journal, Silpakorn University 11, 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม): 429-444.
ภูวกฤต ใจหอม, ธีรพงษ์ แสงประดิษฐ์ และณสรรค์ ผลโภค (2560). ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้การ เรียนรู้และการเล่นที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ของ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น.Veridian E-Journal, Silpakorn University 11,2 (พฤษภาคม – สิงหาคม): 3246-3260
วรวุธ มัสพันธ์. (2556). ปัจจัยทางจิตสังคมที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาพัฒนาการ). กรุเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อุษณีย์ มณีรัตน์, และ สุมาลี ชัยเจริญ.(2559). กรอบแนวคิดการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บน เครือข่ายที่พัฒนาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 1. (น. 1-8) สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.



ภาษาต่างประเทศ
Baker,L.(1999).Metacognition, comprehension monitoring, and the adult leader. Educational Psychology Review.
Cobb, P. (1996). Constructivism and Learning. In International Encyclopedia of educational technology. 2 ed. Edited by P. Tjeerd and E.P. Donald. Cambridge: Cambridge University Press.
Guilford, J.P. (1956). Structure of Intellect Psychological. New York: McGraw-Hill Book Co.
Hall, Tom L. (1996). Utilizing multimedia tool book 3.0. New York: Boyd & Fraser.
Harmer, Jeremy. (1981). The practice of English Language Teaching. London: Longman.
Hogan, K. & Pressley, M (Eds). (1997). Scaffolding Student Learning: Instructional Approaches and Issue (Advances in Learning & Teaching). MA: Brookline Books.
Lee, M., & Dong-Sik, K. (2005). The effects of the collaborative representation supporting tool on problem-solving processes and outcomes in web-based collaborative problem-based learning (PBL) environments. Journal of Interactive Learning Research, 16(3).
Mayer, R.E. (1992). Thinking Problem Solving in cognition. 2nd ed. New York: Freeman.
Majareon, S, Ph.D. (2002). Motive to communicate Self- Presentation and Self-Disclosure among Thai Internet Users On-line. Bangkok: Communication Arts Graduate School Bangkok University.
Torrance, E.P. and R.E. Myers. (1962).Creative Learning and Teaching. New York: Good, Mead and Company.
Wallach, Michael A. and kogan Nathan. (1965). Model of Thinking in Young Children. New York: Holt, Rinehartandwinston.