การพัฒนาทักษะชีวิตด้านทักษะพิสัยของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้านประกอบหุ่นที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่น (Life Skills Development For Early Childhood Phychomotor Domain By Using Folk Tales With Local Materials Puppet)

Main Article Content

สุวรรณา ไชยะธน (Suwanna Chaiyathon)

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับทักษะชีวิตด้านทักษะพิสัยของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้านประกอบหุ่นที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่น และ 2. เปรียบเทียบการพัฒนาทักษะชีวิตด้านทักษะพิสัยของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังใช้กิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้านประกอบหุ่นที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่น กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนอายุระหว่าง 5 – 6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 2  โรงเรียนวัดไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม จำนวน 15  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. แผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้านประกอบหุ่นที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่น 2. แบบทดสอบทักษะชีวิตด้านทักษะพิสัยของเด็กปฐมวัยและ 3. แบบบันทึกการปฏิบัติกิจกรรมของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย((X) ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)และการทดสอบที (T-Test)


ผลการวิจัยพบว่า


               ระดับทักษะชีวิตด้านทักษะพิสัยของเด็กปฐมวัยก่อนใช้กิจกรรมการเล่าพื้นบ้านประกอบหุ่นที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่นพบว่าอยู่ในระดับพอใช้ทั้งภาพรวมและรายด้านและการพัฒนาทักษะชีวิตด้านทักษะพิสัยของเด็กปฐมวัยหลังทำกิจกรรมการเล่าพื้นบ้านประกอบหุ่นที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่น พบว่าอยู่ในระดับดีทั้งภาพรวมและรายด้าน


               การพัฒนาทักษะชีวิตด้านทักษะพิสัยของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้านประกอบหุ่นที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่น ด้านการสร้างสัมพันธภาพ การสื่อสารและการแก้ไขปัญหา สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยทักษะชีวิตด้านทักษะพิสัยของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมเล่านิทานพื้นบ้านประกอบหุ่นที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่น โดยรวมมีการพัฒนาทักษะชีวิตด้านทักษะพิสัยของเด็กปฐมวัยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 37.98


 


                This research aimed to: 1. study the level of life skills development for early childhood phychomotor domain with local materials puppet by using of folk tales; and 2. compare study the level of life skills development for early childhood ability skills before and after using of folk tales. The research sample was 15 students between 5-6 years old, kindergarten 2 of Wat Phaihuchang School, Nakhon Pathom Province. The research instruments were 1. folk tales; 2. activity plans of local folk tales; 3. life skills tests for early childhood skills; and 4. the record form of early childhood activities. Data were analyzed with percentage, mean, standard deviation and t-test.


The findings of this research were as follows:


  1. The level of life skills development for early childhood ability skills by using of folk tales was at the high level.

  2. The comparison of life skills development for early childhood ability skills before and after using of folk tales was found that it was different in a statistically significant difference at the .05 level. The life skills development for early childhood ability skills after using of folk tales was at the percentage of 37.98.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ