ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน (Factors Affecting the Morale of Support Personal at Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus)

Main Article Content

จุฬาลักษณ์ เจริญสุข (Juraluck Chalarnsuk)
ศุภรักษ์ อธิคมสุวรรณ (Supharuk Aticomsuwan)
วรรณี เนียมหอม (Wannee Niamhom)

Abstract

              งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1.ระดับขวัญและกำลังใจของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 2.ระดับปัจจัยที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 3.เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 510 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน(Stepwise-Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1.ระดับขวัญและกำลังใจของบุคลากรสายสนับสนุนโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง  2.ระดับปัจจัยที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจของบุคลากรสายสนับสนุน มีดังนี้ 2.1ปัจจัยจูงใจในภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสำเร็จในงาน รองลงมา คือ ด้านความก้าวหน้าส่วนตัว และด้านลักษณะงาน  ตามลำดับ 2.2 ปัจจัยสุขอนามัยในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน รองลงมา คือ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และด้านความมั่นคงในงาน ตามลำดับ 3.ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจของบุคลากรสายสนับสนุน ได้แก่ ปัจจัยจูงใจด้านความก้าวหน้าในอาชีพ(X1)ปัจจัยสุขอนามัยด้านความมั่นคงในงาน(X9) ปัจจัยจูงใจด้านความสำเร็จในงาน(X3) ปัจจัยสุขอนามัยด้านการบังคับบัญชา(X8) ปัจจัยสุขอนามัยด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน(X12) ปัจจัยจูงใจด้านการได้รับการมอบหมายงาน (X5)ปัจจัยจูงใจด้านความก้าวหน้าส่วนตัว(X2) และปัจจัยสุขอนามัยด้านนโยบายและการบริหารองค์กร(X7) สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของขวัญและกำลังใจของบุคลากรสายสนับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้ร้อยละ 62.4


 


            This research Objectives to study 1. the level of the morale of the support personnel  Kasetsart University kamphaengsaen campus 2. the level of factors affecting the morale of support personnel Kasetsart University kamphaengsaen campus 3. the factors affecting the morale of the support personnel Kasetsart University kamphaengsaen campus . The used research sample were 510 support staff. Using simple random sampling.There were. The statistical data analysis were frequencies, percentage, mean, standard deviation and stepwise multiple regression analysis.


             The research result was found that the overall morale of the workforce was in the high level. Factors affecting the morale of the support personnel The overall motivation factor was high. On the other hand, it was found that the highest mean was the success of the work, followed by personal advancement. And the characteristics of the job. The overall hygiene factors were at a moderate level. When considering each aspect, it was found that the highest mean was the working environment, followed by the relationship with colleagues. And job security, respectively, and factors affecting the morale of the support personnel. The researcher determined the variables affecting the morale of all 13 supportive personnel. There were 8 variables, namely career progression security in the job, success in the job command relationships with colleagues, the task has been assigned, personal progress and policy and organizational management, respectively, affecting the morale of the support personnel. These factors were predictors explaining 62.4 percent of variance at 0.05 statistically significant level as the prediction.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

เอกสารอ้างอิง
นัยเนตร องค์เนกนันต์. 2534 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเจตคติในการประกอบอาชีพอิสระของนิสิต ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ สาขา จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว , มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. 2539. จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ.
รสริน สกุลโรจนประวัติ. 2541. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของ บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
วิโรจน์ วงค์ใจ. 2545. ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการในวิทยาลัยพลศึกษา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(พลศึกษา) กรุงเทพมหานคร , มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ
คมสันต์ วัฒนบารมี. 2546 ปัจจัยทางด้านขวัญกำลังใจ ที่มีผลต่อพฤติกรรม ในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคาร เพื่อการส่งออก และ นำเข้าแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่. สารนิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจ(สาขาวิชาการจัดการ) , มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
. 2547 จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ พิมพ์ดี.
เฉลิมรัตน์ ไทยวี. 2549 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของพนักงานบริการลูกค้า บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (จิตวิทยาอุตสาหกรรม).,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โชติกา กันทะกัน. 2552. ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท สยามไฮเทคพรีซีซั่นโปรดักส์ จำกัด การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (การจัดการทั่วไป),มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
นวะรัตน์ พึ่งโพธิ์สภ.2552. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ธนารักษ์พัฒนาวินทรัพย์ จำกัดภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อลิสา อรุณสวัสดิ์ฤกษ์. 2553 ขวัญกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร สังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. การศึกษาค้นคว้าอิสระ . ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จุลนี เทียนไทย .2553 มานุษยวิทยาธุรกิจ 2553. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อนุตร์ พูลพัฒนา. 2554 ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท มาเลย์ เอ็นจิ่นคอนโพเน็นท์ ประเทศไทย จำกัด. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชูชัย สมิทธิไกร 2554. จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ 2554. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต 2554. ทฤษฏีคุณภาพการให้บริการ.(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก https://www.tpa.orth/writer/read_this_book_topic.php?pageid =4&bookID=1285&read=true&count=true (วันที่เข้าถึงข้อมูล 2 ตุลาคม พ.ศ.2561 )
สมภพ,รศ.ดร.ประสาท อิศรปรีดา,ดร.สุเทพ ทองประดิษฐ์ 2555. ปัจจัยจูงใจเเละปัจจัยค้ำจุนที่สัมพันธ์กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชนสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2.
ปวรรัตน เลิศสุวรรณเสรี. 2555 ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยราชพฤกษ์ ประจำปีการศึกษา 2555 . รายงานการวิจัย, วิทยาลัยราชพฤกษ์
พงษ์ศักดิ์ พนมใส. 2555. ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานประจำสำนักงานใหญ่ในบริษัทธุรกิจร้านอาหารบริการด่วนแห่งหนึ่ง. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รวีพรรณ ลี้ภัยเจริญ. 2556. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถบรรทุกในจังหวัดสระบุรี. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จิรนันนท์ เนื่องนรา. 2556. ขวัญและกำลังใจในการปกิบัติงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร. ปัญหาพิเศษ รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต(สาขาการบริหารทั่วไป),มหาวิทยาลัยบูรพา
ปฐมวงค์ สีหาเสนา.(2557) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลค่ายสูงเนินวง ตำบลบางกะจะ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทรบุรี งานนิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน(วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ),มหาวิทยาลัยบูรพา
ยศวัจน์ พยุงผลชัยสาร และ สมชาย คุ้มพูล (2558) ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง ,มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
สมโชค ประยูรยวง(2558) ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดสระแก้ว งานนิพนธ์รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการเมืองการปกครอง),มหาวิทยาลัยบูรพา
พเยาว์ หมอเล็ก(2559) ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จ.ยะลา ครุศาสตร์มหาบัณฑิต(สาขาวิชาการบริหารการศึกษา) ,มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
ณัฐวรท ผ่องสุวรรณ์ (2559) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการส่วนกลางของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต ,มหาวิทยาศรีปทุม
พลอยบุษรา บุญญาพิทักษ์ และศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี (2558) คุณภาพชีวิตการทำงานกับการรักษาความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรต่างวัย : กรณีศึกษาบุคลากรในสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม)
สมาภรณ์ สุขโสม ธนายุ ภู่วิทยาธร และอรรถพงศ์ ลิมป์กาญจนวัฒน์(2559). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์,ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม): 129 – 140.
นิ่มนวน ทองเสน และนพวรรณ พจน์พิศุทธิพงศ์ (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานกลุ่มธุรกิจผลิตเครื่องสำอางในเขตจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย
เอสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม) : 121-132.