รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล (A Management Model of Provincial Kindergarten School for Improving Learners Quality towards International Standards)
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล ดำเนินการวิจัยโดยศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 270 คน ประกอบด้วยผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอนในโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด จำนวน 70 โรงเรียน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการบริหารและการจัดการโรงเรียนอนุบาล จำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล และ จัดการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสมของรูปแบบ และขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลไปใช้ โดยใช้แบบประเมินในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 140 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการในโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด จำนวน 70 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์และข้อคำถามปลายเปิดใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
- สภาพการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล โดยภาพรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติตามหลักการบริหารอยู่ในระดับมาก
- รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) คุณภาพการบริหารจัดการ 2) การพัฒนาผู้เรียน และ 3) คุณภาพผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล แต่ละองค์ประกอบมีการขับเคลื่อนการบริหารงาน ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์กร การนำ และ การควบคุม
- ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลไปใช้ โดยภาพรวมพบว่ามีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
The objectives of this study were to 1) study the present state of a management model of provincial kindergarten school for improving learners quality towards world standard class, 2) to create and examine a management model of provincial kindergarten school for improving learners quality towards world standard class, and 3) to evaluate the applied form of a management model of provincial kindergarten school for improving learners quality towards world standard class. The sample group was director, deputy director of academic section, and professor from kindergarten school. The sample groups consisted of 70 directors from kindergarten school, 70 deputy directors of academic section, and 217 professors. The procedures of the research administration were divided into 3 stages as follows 1: to study the present state of a management model of provincial kindergarten school for improving learners quality towards world standard class 2: to create and examine the forms of a management model of provincial kindergarten school for improving learners quality towards world standard class, and 3: to evaluate the suitability, possibility, and beneficial forms of a management model of provincial kindergarten school for improving learners quality towards world standard class. The statistic of data analysis were percentage, average, and standard deviation.
The results of the study were as follows:
- The state of management of provincial kindergarten school for improving learner quality towards world standard class was statistically significantly at high level.
- The form of management of provincial kindergarten school for improving learner quality towards world standard class were consisted of 3 main elements as follow: 1) the managements were planning, organizing, guiding, and controlling. 2) the quality of learners towards world standard class were academic excellence which at least bilingual communication, forward thinking, contributing creative works and be responsible for social world, and 3) developing the learners ’quality toward world standard class of national quality reward (TQA) as for instance, organizational leadership, strategic planning, learner focus and participant of measurement, analysis and knowledge management focusing on personnel, procedure and results.
3. The suitability and possibility of applying the forms of management model of provincial kindergarten school for improving learner quality towards world standard class at the highest level.
Article Details
References
เบญจนารถ อมรประสิทธิ์. (2558, กรกฎาคม-กันยายน) รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 17(3): 1-9.
ประจวบ จันทร. (2556). รูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
ประจิน จั่นตอง. (2558). การประกันคุณภาพศึกษา “การก้าวข้ามขีดจำกัด...สู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ. ในหนังสือก้าวข้ามขีดจำกัด สู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน). กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท พลัส จำกัด.
วิลัยพรณ์ เสรีวัฒน์. (2555). การประเมินเชิงระบบโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมศักดิ์ คงเที่ยง. (2558). โรงเรียนมาตรฐานสากล. สารานุกรมเฉลิมการศึกษาร่วมสมัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลอง พระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการขับเคลื่อนกลยุทธ์การดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อนันต์ เกตุวงศ์. (2543). หลักและเทคนิคของการวางแผนกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์.
Cronbach, Lee Joseph. (1970). Essentials of Psychological Testing. 3rded., New York: Harper and Row.
Lawshe, C.H. (1975). “A Quantitative Approach to Content Validity”. Personnel Psychology. 28(4): 563-575.