ผลการใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความใฝ่เรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (The Effects of the 7E Learning Cycle on Academic Achievement and the Desire to Learn Social Studies by Matthayom Sueksa Five Students)

Main Article Content

จุฑามาศ หนูนุ้ย (Jutamas Noonui)
กานต์รวี บุษยานนท์ (Kanrawee Busayanon)

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความใฝ่เรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมหรรณพาราม แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 47 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง คือ นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น จำนวน 22 คน และกลุ่มควบคุม  คือ นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 25 คน


               เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบวัดความใฝ่เรียนรู้ 5) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ซึ่งใช้ระยะเวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ รวม 16 คาบเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ข้อมูล


               ผลการวิจัยพบว่า


  1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  4. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น มีความใฝ่เรียนรู้วิชาสังคมศึกษา สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  5. ความพึงพอใจของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น อยู่ในระดับมากที่สุด

 


       In this thesis, the researcher studies the effects of the 7E Learning Cycle on academic achievement and the desire to learn social studies by selected Matthayom Sueksa Five students. The sample population consisted of 47 Matthayom Sueksa Five students at Mahannaparam School, Chim Phi subdistrict, Taling Chan district, Bangkok Metropolis studying in the first semester of the academic year 2016. The students were divided into an experimental group of 22 students studying by using the 7E Learning Cycle and the control group of 25 students studying through utilizing traditional methods.


               The research instruments consisted of (1) 7E Learning Cycle lesson plans; (2) lesson plans for traditional methods; (3) an academic achievement test; (4) a test of the desire to learn; and (5) a test used to measure student satisfaction with the 7E Learning Cycle. The experimental period ran for six weeks and constituted a total of sixteen learning sessions. Using techniques of descriptive statistics, the researcher analyzed the data collected in terms of mean ( ) and standard deviation (S.D). A t test technique was also employed by the researcher.


               Findings are as follows:


  1. The students taught by traditional methods exhibited academic achievement in social studies after the completion of the study at a higher level than prior to its commencement at the statistically significant level of .05.

  2. The students studying by means of the 7E Learning Cycle evinced academic achievement in social studies after the completion of the study at a higher level than prior to its commencement at the statistically significant level of .05.

  3. The students taught by means of the 7E Learning Cycle displayed academic achievement in social studies at a higher level than those taught through traditional methods at the statistically significant level of .05.

  4. The students taught by means of the 7E Learning Cycle manifested desire to learn social studies at a higher level than those taught through traditional methods at the statistically significant level of .05.

  5. Student satisfaction with the 7E Learning Cycle was found to be expressed at the highest level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ