การกลายรูปของเรือนพื้นถิ่นคนสยามในเกดะห์ มาเลเซีย (Transformation of Vernacular House of Orang Siam in Kedah Malaysia)

Main Article Content

สุภาวดี เชื้อพราหมณ์ (Supawadee Chuapram)

Abstract

                  เรือนพื้นบ้าน ในฐานะที่เรือนรับใช้ชีวิตและบริบทของสภาพแวดล้อมและสังคมวัฒนธรรมในพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใดโดยเฉพาะ เรือนย่อมมีอัตลักษณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกันจากการปรับตัวหลายมิติทั้งในเงื่อนไขของบริบทในระดับกว้างและในบริบทเฉพาะของถิ่นนั้น ซึ่งในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมกายภาพอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการดำรงอยู่ของเรือนพื้นบ้าน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ ตั้งแต่อดีตกาลมีการเคลื่อนไหวของผู้คนและวัฒนธรรมที่แตกต่างและสัมพันธ์กันจนกลายเป็นเครือข่ายที่พึ่งพาอาศัยกันในระบบการผลิต เครือญาติ และศาสนามาช้านานจนเป็นลักษณะเฉพาะ งานวิจัยหลายเรื่องมีการศึกษาความเป็นเครือญาติคนไทยพุทธภาคใต้กับคนสยาม (คนไทยดั้งเดิม) ในมาเลเซียอย่างน่าสนใจ และเป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัยนี้ เพื่อตอบคำถามว่า เรือนพื้นถิ่นคนสยามจะมีลักษณะอย่างไร และมีปัจจัยอะไรที่ทำให้เรือนมีการเปลี่ยนแปลง เทียบเคียงกับเครือญาติคนไทยพุทธภาคใต้ (นครศรีธรรมราชและสงขลา) โดยเจาะจงลงไปในพื้นที่รัฐเกดะห์ (ไทยบุรี) ที่มีคนไทยอาศัยอยู่มากที่สุด งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสำรวจภาคสนามร่วมกับการวิเคราะห์เอกสาร ผลการศึกษา พบว่า เรือนคนสยามในรัฐเกดะห์ มาเลเซียได้ปรับเปลี่ยนลักษณะเรือนเนื่องจากปัจจัยภายนอก คือ ปัจจัยทางการเมืองและการปกครอง เป็นสำคัญ


 


                      The vernacular houses are the basis of life and related to socio-cultural and environmental context in a specific place. The identity of the vernacular houses has a various dimensions of similarity and different from adaption process within the changing context of the locality, broadly and specifically. Because of the rapidly growth and continuing changes of socio-cultural and physical aspects affect to the situation of the existence of the vernacular houses, especially in Southern Region of Thailand. There had been a migration in both of diversity of people and cultures which considered as agriculture-base relying system within a unique kinship structure and religious beliefs.


               There are many fascinating previous researches had studied about the kinship system of Southern-Thai Buddhists and Orang Siam (Traditional Thai people) in Malaysia. This research aims to answer the question how does the Orang Siam in Malaysia transform their physical characteristics of the vernacular houses? And, what are the factors of change in the vernacular houses? The research findings will lead to the comparison with the context of the Southern-Thai Buddhists. (Nakorn Sri Thammarat and Songkhla provinces). This research is a qualitative research which data collecting were derived from the field survey and analysis of related documents and other sources. The selected research area is in Kedah where most of Orang Siam has been living. The result found that the characteristics of the vernacular houses of Orang Siam in Kedah had transformed to the new characteristics of the Buddhist-Thai dwellings which obviously relate to the political factors.


 


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ