รูปแบบการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการงานด้านวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภาที่สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0 (The Information System Management Model for Educational Profession Services of the Teachers’ Council of Thailand Consistent with Thailand 4.0)

Main Article Content

ราณี จีนสุทธิ์ (Ranee Jeansuti)
เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต (Sowwanee Sikkhabandit)
ปานใจ ธารทัศนวงศ์ (Panjai Tantaswong)

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการงานด้านวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภาที่สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0 และสังเคราะห์ แนวทางการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการงานด้านวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภาที่สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0  โดยดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการงานด้านวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภาที่สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0  ดำเนินการโดย 1) ศึกษาและวิเคราะห์เอกสาร แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการงานด้านวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภาที่สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0  เพื่อนำมากำหนดกรอบการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการงานด้านวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภาที่สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0  2) ศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์ของสภาพการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการงานด้านวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภาที่สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0 โดยใช้แบบสอบถามกับผู้บริหารของคุรุสภา ผู้ปฏิบัติงานของคุรุสภา ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ได้แก่ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ จำนวน 845 คน  3) ศึกษาสภาพและแนวทางในการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการงานด้านวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภาที่สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0 โดยใช้การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน โดยผู้วิจัยเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง (Purposive sampling) ประกอบด้วย ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของคุรุสภา จำนวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสารสนเทศ จำนวน 3 คน ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา จำนวน 4 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 12 คน เพื่อนำมากำหนดกรอบ
                แนวทางการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการงานด้านวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภาที่สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0  ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการงานด้านวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภาที่สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0 ตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการงานด้านวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภาที่สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0 ขั้นตอนที่ 3  การประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการงานด้านวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภาที่สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารของคุรุสภา จำนวน 5 คน ผู้ปฏิบัติงานของคุรุสภา จำนวน 5 คน และผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ได้แก่ ครู จำนวน 5 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน ผู้บริหารการศึกษา จำนวน 5 คน และศึกษานิเทศก์ จำนวน 5 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 30 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


               ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการงานด้านวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภาที่สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

  2. รูปแบบการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการงานด้านวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภาที่สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0  ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) การบริหารจัดการ ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การนำ และการควบคุม 2) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ได้แก่การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การนำข้อมูลไปใช้ และการจัดคลังข้อมูล/การสำรองข้อมูล และ 3) การให้บริการงานด้านวิชาชีพทางการศึกษา ได้แก่ การจัดบริการที่มีคุณภาพ การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ การเพิ่มคุณค่าให้ผู้กับรับบริการ และการปรับปรุงการให้บริการที่รวดเร็ว

  3. ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการงานด้านวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภาที่สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0 ไปใช้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

        This research aimed to study the information system management model for Educational Profession Services of the Teachers Council of Thailand consistent with Thailand 4.0 and synthesize the information system management for Educational Profession Services of the Teachers Council of Thailand consistent with Thailand 4.0 The research is conducted in
3 steps. Step 1: Examine the current state of information system management for the professional education services of Teachers Council of Thailand consistent with Thailand 4.0 by means of 1) Study and analyze related documents, direction, theories, and research from Thailand and oversea, involving the information system management model for Educational Profession Services of the Teachers’ Council of Thailand under Thailand 4.0 context, to guide how management framework be composed effectively, under the Thailand 4.0 atmosphere.
2) Study empirical data of the information system management model for Educational Profession Services of the Teachers Council of Thailand under Thailand 4.0 context, using surveys with executives, administrators of the Teachers Council of Thailand, Educational Personnel, Teachers, Educational Institution Administrators, Educational Administrators, and Specialist totaling 845 persons, and 3) Study educational information system management model by interviewing professionals and specialists totaling 12 persons. Purposive Sampling, interviewed executives, administrators of the Teachers Council of Thailand 5 persons, Information Systems Specialist 3 persons and educational personnel 4 person totaling 12 persons. Into order guide how management framework be composed effectively to consistent with Thailand 4.0 Step 2: Create the information management system for educational profession services of the Teachers Council of Thailand with Thailand 4.0 and such framework be evaluated upon appropriateness and accuracy by 7 persons of specialists who were capable skill of educational profession services of the Teachers Council of Thailand Step 3. Evaluated for suitability, possibility of the information system management model for Educational Profession Services of the Teachers Council of Thailand consistent with Thailand 4.0 by the group consisted of 30 persons. The sample groups comprised of executives of the Teachers Council of Thailand  5 persons, administrators of the Teachers’' Council of Thailand 5 persons, educational personnel 20 persons were Teachers5 persons, educational Institution Administrators 5 persons, Educational Administrators 5 persons and Specialist 5 persons totaling 30 persons by using Purposive Sampling. The statistics used for data analysis were percentage, mean and standard deviations.


 


The research results found that


  1. The state of management of the educational service system of the Teachers Council of Thailand consistent with Thailand 4.0 was at a high level in overall.

  2. The information system management model for Educational Profession Services of the Teachers Council of Thailand consistent with Thailand 4.0 management of the use of information technology in educational institutions consists of three main components, as follows: 1) Management compose of planning, organizing, directing and control. 2) Information management system compose of the collection of data, data validation, data processing, data analysis, applying data; and 3) Professional education services, including the provision of quality services, service optimization, value added to the service, and fast service improvements.

  3. The appropriateness and feasibility of using the information management system for the professional education service of the Teachers Council of Thailand consistent with Thailand 4.0 is at the highest level

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ