ประสิทธิภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร: กรณีศึกษา ศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคน (Efficiency of Agro-Ecotourism: Case Study of Klong Khone Mangrove Conservation Center)

Main Article Content

ปิยพงศ์ เขตปิยรัตน์ (Piyapong Katpiyarat)
จิจุฑา ปานเผือก (Jijuta panpeak)
เพชรรัตน์ ฉัตรวุฒิชัย (Petcharat Chutwutichai)
สุรเกียรติ์ แซ่เฮ้ง (Surakete Chihank and)
อริสรา คุ้มเพนียด (Arisara kumpanead)

Abstract

               บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร  ศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคน ซึ่งมีแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพแหล่งท่องเที่ยว จำนวน 5 ด้าน คือ ด้านความดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยว ด้านเส้นทางการเข้าถึง ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก  ด้านกิจกรรม และ ด้านที่พัก กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 372 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่มกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย ดังนี้ 1) ฝ่ายนักวิจัยประกอบด้วย นักวิจัย 4 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว 1 คน 2) ฝ่ายชุมชนประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน 1 คน สมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 1 คน คนในชุมชน 3 คน  และ 3) ฝ่ายนักท่องเที่ยวประกอบด้วยเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางเข้ามาเที่ยวในศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคนที่สนใจเข้าร่วมการสนทนากลุ่ม 5 คน รวมทั้งสิ้น 15 คน ใช้วิธีการจดบันทึก บันทึกภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และการอัดเสียง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา ด้านปริมาณ พบว่า ด้านความดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยว อยู่ในระดับปานกลาง ด้านเส้นทางการเข้าถึงอยู่ในระดับมาก  ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในระดับปานกลาง  ด้านกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด และ ด้านที่พักอยู่ในระดับมาก และ พบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 3 ฝ่ายประกอบด้วย ฝ่ายนักวิจัย ฝ่ายชุมชน และ ฝ่ายนักท่องเที่ยว เสนอว่า ด้านความดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยว ควรมีการเพิ่มช่องประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น ด้านเส้นทางการเข้าถึงควรมีป้ายบอกทางเพิ่มเติม ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกควรจัดหาห้องน้ำเพิ่มเติม ด้านกิจกรรมถือว่าเป็นจุดแข็งของศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคน และด้านที่พักควรมีการควบคุมราคาสถานที่พักที่แพงเกินไป


 


                This research aims to study the development of ecotourism. Klong Khone Mangrove Conservation Center in 5-aspects are attraction, accessibilities, amenities, activities and accommodation. The samples were 372 Thai tourists. Data analysis using basic statistics. Qualitative data collection by group discussion with 3 stakeholders 1) The researcher consists of 4 researchers, 1 tourism expert. 2) The community consists of one headman, one city council member, three community members and 3) tourists included Thai tourists who visited the Klong Khen Mangrove Conservation Center who were interested in participating in 5 groups of 15 people. Use the note-taking method. Slide recording save animation and recording Analyze data using content analysis techniques. The results of the study showed that the attractiveness of tourists at the moderate level Access paths are at a high level. The facilities are at a moderate level. Activities were at the highest level and accommodation was at a high level. It was found that the three parties involved were the researchers, the community and the tourist. Propose that the attractiveness to tourists who has more channels to promote tourists more information. The access path should have an additional sign. Facilities should provide additional bathrooms. Activities are considered as strengths of the Klong Khone Mangrove Forest Conservation Center and the accommodation should be controlled to a very high price.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ