การประยุกต์ใช้ทฤษฎีฐานรากแนวสร้างสรรค์นิยมเพื่อสร้างมโนทัศนศิลป์ ในการออกแบบตัวละครสัตว์หิมพานต์สำหรับงานแอนิเมชัน (Application of Constructionist Grounded Theory for the Visual-Art Concept of the Himmapan Creatures Character Design for Animation)

Main Article Content

พงษ์พิพัฒน์ สายทอง (Pongpipat Saitong)

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) สร้างรูปแบบการวิจัยจากการประยุกต์ใช้ทฤษฎีฐานรากแนวสร้างสรรค์นิยมเพื่อสร้างมโนทัศนศิลป์ในการออกแบบตัวละครสัตว์หิมพานต์ 2) ประเมินคุณภาพกระบวนการออกแบบและพัฒนาตัวละครสัตว์หิมพานต์สำหรับงานแอนิเมชัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) การสนทนากลุ่ม 2) แบบประเมินคุณภาพกระบวนการออกแบบและการพัฒนาตัวละครสำหรับงานแอนิเมชัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บัณฑิตสาขาวิชาสื่อนฤมิต จำนวน 7 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบและพัฒนาตัวละคร จำนวน 6 คน ทั้งสองกลุ่มใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 3) สัตว์หิมพานต์ จำนวน 4 ชนิด ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการวิจัยทฤษฎีเชิงกระบวนการที่นำไปสู่การปฏิบัติงาน คือ กรอบแนวคิดการวิจัยแบบผสมวิธี 2 ตอน ประกอบด้วย การประยุกต์ใช้ทฤษฎีฐานรากแนวสร้างสรรค์นิยมเพื่อสร้างมโนทัศนศิลป์ และกระบวนการออกแบบและพัฒนาตัวละครจากมโนทัศนศิลป์ 2) กระบวนการออกแบบและพัฒนาตัวละครมีคุณภาพอยู่ในระดับดี สามารถนำไปใช้ในงานแอนิเมชันได้


 


              This research aimed at: 1) developing a research design based on the constructionism grounded theory to construct the visual-art concept for the Himmapan creature character design and 2) evaluating the process quality of the Himmapan character design and development for animation. The research tools consisted of 1) a focused group conversation, and 2) an evaluation form on the process quality of Himmapan character design and development. In this research, the sample group consisted of different groups of participants including: 1) 7 undergraduate students in creative media program, 2) 6 specialists in character design and development both groups were selected by purposive sampling, and 3) 4 characters of Himmapan creatures selected by multi-stage sampling method. The research outcomes were notably found as follows. 1) A research design with a process theory for practical implementation that is the mixed research between the constructionism-based visual-art concept and the visual-art concept-based character design. 2) The good quality process of Himmapan creature character design and development that is efficiently usable for animation.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ