การพัฒนาตัวชี้วัดอัตลักษณ์นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (The Development of Identity Indicators for Chiang Rai Rajabhat University Students by Using Confirmatory Factor Analysis Technique)

Main Article Content

กุลธิดา อินทร์ไชย (KunthidaInchai)
ปรมินทร์ อริเดช (Poramin Aridech)
สุชาติ ลี้ตระกูล (Suchart Leetagool)

Abstract

            การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดอัตลักษณ์นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายและเพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของตัวชี้วัดอัตลักษณ์นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ขั้นตอนแรกสร้างตัวชี้วัดโดยการสังเคราะห์เอกสาร สร้างเป็นแบบประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับอัตลักษณ์นักศึกษา จากแนวคิด ทฤษฎี และเอกสาร ที่ผู้ศึกษาค้นคว้า และนำแบบประเมินความสอดคล้อง ให้ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาความเหมาะสมของตัวชี้วัดอัตลักษณ์นักศึกษา ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของตัวชี้วัดอัตลักษณ์นักศึกษา โดยใช้โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน จากโปรแกรม LISREL Version 8.72 ซึ่งเก็บข้อมูลจากนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ              ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 600 คน ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง ผลการศึกษาพบว่า


  1. ผลการศึกษาการพัฒนาตัวชี้วัดอัตลักษณ์นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โดยการสังเคราะห์เอกสารที่มีความเหมาะสมกับอัตลักษณ์นักศึกษา ได้ตัวชี้วัดทั้งสิ้น 30 ตัวชี้วัด ใน 3 องค์ประกอบ คือองค์ประกอบ ด้านทักษะเด่น 11 ตัวชี้วัด องค์ประกอบด้านความรู้ดี 8 ตัวชี้วัด และองค์ประกอบด้านมีคุณธรรม 11 ตัวชี้วัด

  2. การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของตัวชี้วัดอัตลักษณ์นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ที่พัฒนาขึ้น โดยใช้โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ด้วยโปรแกรมลิสเรล พบว่า มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบในแต่ละด้านเป็นบวก ตั้งแต่ 0.80 – 1.00 โดยด้านทักษะเด่น มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด เท่ากับ 1.00 รองลงมาได้แก่ ด้านความรู้ดี และด้านมีคุณธรรม มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.84 และ 0.80 ตามลำดับและเมื่อพิจารณาค่าสถิติ คือ ค่าไค-สแควร์สัมพันธ์( /df)เท่ากับ 0.31 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพันธ์ (CFI) เท่ากับ 1.00   ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.98 และค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.00  เป็นไปตามเกณฑ์ของความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์

 


          The purposes of this study are to develop the identity indicators for Chiang Rai Rajabhat University students, and  investigate the construct validity of the indicators by using Confirmatory actor Analysis technique. Those indicators were obtained from the synthesis of the secondary sources and used to create the evaluation form which were then used to validate the students’ identity. Later, the evaluation form was checked by research experts. The construct validity was also verified by Confirmatory Factor Analysis technique from LISREI software program version in 8.72. The research sample were 500 students from the first semester of academic year 2017. They were selected from purposive sampling techniques.


               Results showed that:


               1) The identity of Chiang Rai Rajabhat University students consisted of 3 components: the first component is outstanding skills which has 11 indicators; the second component is academic knowledge which has 8 indicators, and the last component is moral character which has 11 indicators.


               2)The construct validity of the identity indicators of Chiang Rai Rajabhat University students verified by Confirmatory Factor Analysis technique revealed that each component of identity indicators demonstrated positive scores in between 0.80 – 1.00. Findings showed the highest values were outstanding skills (1.00), academic knowledge (0.84), and moral character (0.80) respectively. Findings further demonstrated that the values of Relative Chi-square( /df) = 0.31;Comparative Fit Index (CFI) = 1.00; Goodness of Fit Index(GFI) = 0.99; Adjusted Goodness   of Fit Index (AGFI)= 0.98 and Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) = 0.00were corresponded and fitted well to the empirical data.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts