ถอดรหัสการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งบ้านเขาเต่า อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (De-Construct the Development of a Strong Community Baan Kao-tao Hua Hin District Prachuap Khiri Khan)

Main Article Content

ลิขิตา เฉลิมพลโยธิน (Likita Chalermpolyothin)
นรินทร์ สังข์รักษา (Narin Sungrugsa)

Abstract

              การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาคปฏิบัติการของวาทกรรมการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งบ้านเขาเต่าผ่านพัฒนาการชุมชนบ้านเขาเต่า  และโครงการพัฒนาชุมชนบ้านเขาเต่า ในฐานะเครื่องมือของอำนาจ  กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ตัวแทนผู้นำชุมชน ประธานกลุ่มสตรี ประชาชนของชุมชนบ้านเขาเต่า และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน กำหนดคุณสมบัติ  ได้แก่ ผู้ที่มีความเป็นผู้นำและผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในบ้านเขาเต่า อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) หรือจนข้อมูลอิ่มตัว (Saturated Data) และการวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis)  เครื่องมือการวิจัยครั้งนี้  คือ  ตัวผู้วิจัย ศึกษาการวิเคราะห์วาทกรรม โดยผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ได้เตรียมแนวคำถามในการวิจัย รวมไปถึงการเข้าร่วมสังเกตการดำเนินกิจกรรม  ต่าง ๆ อันเป็นกระบวนการสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งตนเองของชุมชน นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้เตรียมเครื่องบันทึกเสียงขนาดเล็ก สมุดจด ปากกา สำหรับการทำวิจัยภาคสนาม การรวบรวมข้อมูล จากการสนทนากับกลุ่มเป้าหมายแล้วนำมาวิเคราะห์


               จากผลการวิจัย พบว่า ภาคปฏิบัติการของวาทกรรมการพัฒนาของรัฐที่มีต่อชุมชน คือให้ชุมชนปฏิบัติตามสิ่งที่รัฐต้องการให้เป็นโครงการพัฒนาที่ชุมชนที่พัฒนาแล้วไม่เป็นอย่างที่คิด แต่ชุมชนใช้บทเรียนที่รัฐให้มาเพื่อปรับตัว ดังนั้นในการพัฒนาชุมชนบ้านเขาเต่าหรือชุมชนอื่น ๆ การที่นักวิชาการหรือหน่วยงานภาครัฐจะเข้ามาทำงานพัฒนาควรเริ่มต้นจากการศึกษากลุ่มแกนนำที่มีในชุมชนก่อนว่า  แต่ละกลุ่มแกนนำในชุมชนมีลักษณะอย่างไร เพื่อที่จะได้ใช้ความรู้และภูมิปัญญาของกลุ่มแกนนำในชุมชนให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการพัฒนา  ในการที่จะสามารถดึงผู้คนที่เป็นพวกพ้องของกลุ่มแกนนำเข้ามาร่วมทำงานได้


                จากผลการวิจัย พบว่า ภาคปฏิบัติการของวาทกรรมการพัฒนา  ชุมชนบ้านเขาเต่าได้ทำหน้าที่ดึงชาวบ้านให้เข้าเป็นเพียงสมาชิก  ภาครัฐซึ่งเป็นตัวแทนของสถาบันมีความเชื่อว่า  ทำให้สามารถกำกับควบคุมได้ง่ายโดยสมาชิกเหล่านี้ทำงานสนองตอบต่อผลประโยชน์ของเจ้าของโครงการในลักษณะของการมีถาวรวัตถุจำนวนกลุ่ม  และจำนวนกิจกรรม ดังนั้น ในการพัฒนาควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง  ตั้งแต่เริ่มวางแผนการทำงาน  ร่วมดำเนินกิจกรรมทุกขั้นตอน  ร่วมรับผลประโยชน์และร่วมประเมินผล  เพื่อให้ชุมชนเกิดความรักและตระหนักถึงความเป็นเจ้าของโครงการ  จึงจะทำให้การพัฒนาเป็นการพัฒนาอย่างแท้จริงไม่เป็นเพียงปฏิบัติการของวาทกรรม


 


                The purpose of this study was the implementation of Baan Kao Tao residential development project and the Khao Tao community development project community 20 members. Those qualifications include who are leaders and domiciled in Khao Tao, Hua Hin, Prachuap Khiri Khan. The purposive selection or saturated dData and document Analysis.  This research instrument :  researcher studied the analysis of the discourse. The researcher, studied the documents and research  involves the process of strengthening the community. In addition, the researcher prepares a transcript of research, including the observation of  activities, strengthening process and self-reliance of community. Pen notebook for field research data gathering the conversation with target group and then analyzed.


               The results found that the operational state of development committee on the community. The community is doing what the state needs to be a development project in a developed community, but  community uses lessons that the state has provided for adaptation. The development of Khao Tao community or other communities, academic or government sector should work on the development of community what are different groups in the community.  In order to use knowledge and wisdom of community leaders to benefit  the development to be able to draw people who are partisans of core group to work and number of activities. So  development should make the community truly involved. Since the beginning of work plan. Participating in all activities, benefit sharing and evaluation.  The community to love and realize the ownership of project. This will make development a truly development not just a practice of discourse.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ