รูปแบบความสัมพันธ์ของการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (A Relationship Model of Performance According toThe Internal Control Standards AffectingThe Success of Primary Educational Service Area Office)

Main Article Content

สมมาต คำวัจนัง (Sommart Kamwatjanang)
บุญมี เณรยอด (Boonmee Nenyod)
คมศร วงษ์รักษา (Komsorn Wongrugsa)

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการควบคุมภายในและความสำเร็จของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์ของการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา  กลุ่มประชากร คือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีผลคะแนนความสำเร็จสูง จำนวน 59 เขต ผู้ให้ข้อมูล เขตละ 14 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้ครบทุกเขต รวม 729 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ใช้โปรแกรม LISREL วิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง        


              ผลการวิจัยพบว่า                


  1. สภาพการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการควบคุมภายใน อยู่ในระดับมาก ทั้งในภาพรวมและรายด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านสภาพแวดล้อมของการควบคุม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ= 4.33) สำหรับความสำเร็จของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน เมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน ด้านประสิทธิผลขององค์การ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ= 4.35)

  2. โมเดลสมการโครงสร้างของรูปแบบความสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้น มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า c2= 928.34, df= 340 โดยสัดส่วนc2/df= 2.73, GFI= 0.97, AGFI= 0.93, NFI= 0.99, IFI= 0.99, CFI= 0.99, RMR= 0.01 และ RMSEA= 0.04 มีอิทธิพลทางตรงต่อความสำเร็จของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ส่งผลทางบวกทุกด้าน โดยด้านกิจกรรมการควบคุมมีอิทธิพลสูงสุด (DE= 0.43) ด้านสภาพแวดล้อมของการควบคุม มีอิทธิพลต่ำสุด (DE= 0.17) ความสัมพันธ์มีความเที่ยงตรง มีความสามารถพยากรณ์ได้ดี และยอมรับได้

        The purposes of this research were to study the performance according to the internal control standards and the success of primary educational service area office and analyze the relationship model of performance according to the internal control standards affecting the success of the primary educational service area office by using descriptive method. Data were collected through questionnaires from 59 primary educational service area offices which were rated at the high scores of success, each of offices collected 14 persons total to be 729 persons from every office. Data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation, and coefficients correlation through the LISREL program. The research results showed as follows:


  1. The performance according to the internal control standards as a whole and each of aspects were rated at the high level. When considering in each of aspects, the control environment aspect was rated at the highest score of mean (μ= 4.33). The success of primary educational service area office as a whole and each of aspects were rated at the high level. When considering in each of aspects, the effectiveness of organization aspect was rated at the highest score of mean (μ= 4.35).

  2. Structural equation model of the relationship model, indicator of success was appropriated and harmonious with the empirical data. The results showed that c2= 928.34, df= 340, c2/df= 2.73, GFI= 0.97, AGFI= 0.93, NFI= 0.99, IFI= 0.99, CFI= 0.99, RMR= 0.01 and  RMSEA= 0.04. Structural model had the direct effect to the success of primary educational service area office. The results of positive factors were the control activities aspect (DE= 0.43) and the control environment aspect (DE= 0.17) respectively. They were proved its validity. The relationship model could predict well and accepted.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ