การพัฒนาทักษะชีวิตด้านทักษะพิสัยของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้านประกอบหุ่นที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่น (Life Skills Development For Early Childhood Phychomotor Domain By Using Folk Tales With Local Materials Puppet)
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับทักษะชีวิตด้านทักษะพิสัยของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้านประกอบหุ่นที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่น และ 2. เปรียบเทียบการพัฒนาทักษะชีวิตด้านทักษะพิสัยของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังใช้กิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้านประกอบหุ่นที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่น กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนอายุระหว่าง 5 – 6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. แผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้านประกอบหุ่นที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่น 2. แบบทดสอบทักษะชีวิตด้านทักษะพิสัยของเด็กปฐมวัยและ 3. แบบบันทึกการปฏิบัติกิจกรรมของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)และการทดสอบที (T-Test)
ผลการวิจัยพบว่า
ระดับทักษะชีวิตด้านทักษะพิสัยของเด็กปฐมวัยก่อนใช้กิจกรรมการเล่าพื้นบ้านประกอบหุ่นที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่นพบว่าอยู่ในระดับพอใช้ทั้งภาพรวมและรายด้านและการพัฒนาทักษะชีวิตด้านทักษะพิสัยของเด็กปฐมวัยหลังทำกิจกรรมการเล่าพื้นบ้านประกอบหุ่นที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่น พบว่าอยู่ในระดับดีทั้งภาพรวมและรายด้าน
การพัฒนาทักษะชีวิตด้านทักษะพิสัยของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้านประกอบหุ่นที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่น ด้านการสร้างสัมพันธภาพ การสื่อสารและการแก้ไขปัญหา สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยทักษะชีวิตด้านทักษะพิสัยของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมเล่านิทานพื้นบ้านประกอบหุ่นที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่น โดยรวมมีการพัฒนาทักษะชีวิตด้านทักษะพิสัยของเด็กปฐมวัยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 37.98
This research aimed to: 1. study the level of life skills development for early childhood phychomotor domain with local materials puppet by using of folk tales; and 2. compare study the level of life skills development for early childhood ability skills before and after using of folk tales. The research sample was 15 students between 5-6 years old, kindergarten 2 of Wat Phaihuchang School, Nakhon Pathom Province. The research instruments were 1. folk tales; 2. activity plans of local folk tales; 3. life skills tests for early childhood skills; and 4. the record form of early childhood activities. Data were analyzed with percentage, mean, standard deviation and t-test.
The findings of this research were as follows:
- The level of life skills development for early childhood ability skills by using of folk tales was at the high level.
- The comparison of life skills development for early childhood ability skills before and after using of folk tales was found that it was different in a statistically significant difference at the .05 level. The life skills development for early childhood ability skills after using of folk tales was at the percentage of 37.98.