การพัฒนารูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสนับสนุนการเป็นแหล่งเรียนรู้ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร (The Development of Human Resource Development Model to support The Learning Resources in the Central Library, Silpakorn University)

Main Article Content

ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์ (Sakdipan Tanwimonrat)

Abstract

              การพัฒนารูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสนับสนุนการเป็นแหล่งเรียนรู้ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากรมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพการณ์และความต้องการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสนับสนุนการเป็นแหล่งเรียนรู้ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อประเมินศักยภาพการให้บริการของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากรและเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสนับสนุนการเป็นแหล่งเรียนรู้ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นการวิจัยประยุกต์ดำเนินการในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 2 ชุด การประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ (Connoisseurship) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เข้าอบรม การสัมมนาบุคลากรสำนักหอสมุดกลาง และการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การทดสอบค่าที      (t-test) ผลการวิจัยพบว่า สภาพการณ์และความต้องการของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสนับสนุนการเป็นแหล่งเรียนรู้ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและศักยภาพการให้บริการของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก


               รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสนับสนุนการเป็นแหล่งเรียนรู้ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ประกอบด้วย ขั้นตอนการวิเคราะห์ การจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ขั้นตอนการออกแบบ ขั้นตอนการนำไปใช้ ขั้นตอนการประเมินผล และขั้นตอนการปรับปรุงและพัฒนา


 


               The Development of Human Resource Development Model to support The Learning Resources in the Central Library, Silpakorn University, aimed to (i) study situations, investigate human resource development needs for revitalizing learning sources of the Central Library, (ii) service capacity assessment of the Central Library, and (iii) develop a human resource development model to support the revitalization of the learning sources. This study is applied research in the field of research and development that included: questionnaires, connoisseurship, pre-test and post-test of training participants, and Central Library staff annual seminar. Findings from the frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation t-test and content analysis. The research findings indicated high demand for situational high human resource development needs. and high service capacity.


             In conclusion, the human resource development model includes thorough system analysis, needs prioritization, model design, model implementation, monitoring and evaluation and improvement process.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ