การใช้แผนผังมโนทัศน์เพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (The use of concept mapping to enhance reading comprehension for Prathom sixth students)

Main Article Content

อลงกรณ์ สิมลา (Alongkorn Simla)
รินทร์ ชีพอารนัย (Rin Cheep-Aranai)

Abstract

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้โดยการใช้แผนผังมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการใช้แผนผังมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดชุมพลนิกายาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กิจกรรมการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้แผนผังมโนทัศน์ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนวัดความสามารถทาง การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้แผนผังมโนทัศน์ในการสอนอ่านภาษาอังกฤษ การวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent)


               ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างสูงขึ้นหลัง การเรียนรู้โดยใช้แผนผังมโนทัศน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการใช้แผนผังมโนทัศน์เพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด


 


               The purposes of this research were to: 1) compare the students’ abilities in English reading comprehension before and after using concept mapping activities, and 2) investigate students’ opinions toward the English reading activities. The subjects consisted of 30 sixth grade students of Watchumponnikayaram School, Pranakhon si Ayuttha. The sample consisted of one randomly selected class of 30 sixth graders. The students studied four reading lessons using concept mapping activities. The duration of the experimental research was six-hour sessions. The instruments used for gathering data were 1) four lesson plans of reading comprehension by using concept mapping, 2) a reading proficiency test, used as a pretest and posttest, and 3) a questionnaire on opinions toward the use of concept mapping to enhance English reading comprehension. The data were analyzed by the mean, standard deviation and t-test dependent.


               The results of the study revealed


               1) The students’ abilities in English reading comprehension after studying concept mapping activities was significantly higher at 0.01 level, and


               2) The students’ opinions toward the English reading comprehension by using concept mapping activities were highly positive in aspects of formatting, contents, activities and the benefits.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ