ผลการใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนร่วมกับประสบการณ์ทางอภิปัญญา ในรายวิชาปฏิบัติการพันธุศาสตร์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี (Effects of Using 5E Learning Cycle with Metacognition Experience in Genetics Laboratory for Undergraduate Students)

Main Article Content

นัตพงษ์ อนงค์เวช (Nattapong A-nongwech)
ชนินันท์ พฤกษ์ประมูล (Chaninan Pruekpramool)

Abstract

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนร่วมกับประสบการณ์ทางอภิปัญญาที่มีต่อความเข้าใจแนวคิดวิทยาศาสตร์และการคิดเชิงอภิปัญญาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในรายวิชาปฏิบัติการพันธุศาสตร์ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์แห่งหนึ่ง ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนร่วมกับประสบการณ์ทางอภิปัญญา แบบวัดความเข้าใจแนวคิดวิทยาศาสตร์ และแบบวัดการคิดเชิงอภิปัญญา สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน


               ผลการวิจัยสรุปผลได้ดังนี้


             นักศึกษาที่เรียนรู้ด้วยวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนร่วมกับประสบการณ์ทางอภิปัญญาในรายวิชาปฏิบัติการพันธุศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจแนวคิดวิทยาศาสตร์และการคิดเชิงอภิปัญญาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 อีกทั้งการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวยังส่งเสริมให้นักศึกษา มีการคิดเชิงอภิปัญญาเพิ่มขึ้นทุกด้าน ซึ่งด้านที่ผู้เรียนสามารถสะท้อนพฤติกรรมการเรียนรู้มากที่สุด คือ ด้านความรู้เกี่ยวกับกลวิธีและการแก้ไขปัญหา


 


              The purpose of this research was to study the effects of using 5E learning cycle with metacognition experience toward scientific concept understanding and metacognition of undergraduate students in genetics laboratory subject. The samples used in this study were 32 undergraduate students of a rajabhat university in Rattanakosin group in the first semester of 2017 academic year using purposive selection. The research instruments consisted of 5E learning cycle with metacognition experience lesson plans, scientific concept test and metacognition test. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation and t-test for dependent samples.
The results were summarized as follows:
                The posttest mean scores of students’ scientific concept understanding and metacognition after using the 5E learning cycle with metacognition experience were statistically significantly higher than the pretest mean score at .05 level. In addition, the learning steps could encourage students to develop higher level of metacognition in all aspects. The aspect which reflected the highest score was knowledge of strategies and problem solving.


 


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ