การประยุกต์ใช้พุทธปัญญาในการจัดการความเครียดและพัฒนาสุขภาพจิต (An Application of Buddhist Wisdom in Stress Management and Mental Health Development)

Main Article Content

สุขุมพงศ์ ชาญนุวงศ์ (Sukhumpong Channuwong)
สุวิญ รักสัตย์ (Suvin Ruksat)
สุเชาวน์ พลอยชุม (Suchao Ploychum)

Abstract

               งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้พุทธปัญญาในการจัดการความเครียดและพัฒนาสุขภาพจิต เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลปฐมภูมิจากคัมภีร์พระไตรปิฎก และข้อมูลทุติยภูมิจากหนังสือ ตำรา งานวิจัย และบทความที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ความเครียดคือสภาวะกดดันทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ในทางลบหรือสถานการณ์ที่บีบคั้นอย่างมาก ในยุคโลกาภิวัตน์ ประชาชนประสบกับความเครียดมากกว่าแต่ก่อนเนื่องจากปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาการเงิน ปัญหาการงาน ปัญหาครอบครัว ปัญหาการเมือง และปัญหาสังคม เป็นต้น การแข่งขันที่รุนแรง สภาพเศรษฐกิจและอิทธิพลของเทคโนโลยีได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์ให้ดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอด บางคนอาจรู้สึกว่าปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่มีมากกว่าสมรรถนะที่จะแก้ไขได้ ซึ่งสามารถก่อให้เกิดความเครียดได้ตลอดเวลา เนื่องจากความเครียดเป็นเงื่อนไขเฉพาะบุคคลและมีความสัมพันธ์อย่างสูงกับอารมณ์ ทัศนคติ และปฏิกิริยาที่บุคคลตอบสนองต่อปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ พระพุทธศาสนาสอนให้พัฒนาปัญญาในการคิดเชิงวิเคราะห์ การทำใจให้สงบ ความเข้าใจเรื่องไตรลักษณ์และการควบคุมอารมณ์และความรู้สึก เพื่อพัฒนาสุขภาพจิตให้บริสุทธิ์ปราศจากความเครียดและความทุกข์


 


               The purposes of this research were to study an application of Buddhist wisdom in stress management and mental health development. This is a documentary research. The researcher studied primary data from Tipitaka texts and secondary data from books, texts, research papers, and related articles. The research results showed that stress is a state of physical or mental tension resulting from adverse or very demanding circumstances. In the age of globalization, people face with a tremendous stress more than before due to many problems such as financial problem, work problem, family problem, political problem, and social problem etc. Intensified competition, economic condition and the influence of technology have changed the way of peoples’ lives to struggle for survival. Some people may feel that the problems they are facing are over his or her capability to deal with, which can cause stress anytime. As stress is an individual condition, and is highly related to emotion, attitude, and reaction one responds to the experiencing problems, Buddhism teaches about developing wisdom in analytical thinking, calming the mind, understanding the threefold characteristics, and controlling emotion and feeling in order to purify the mind to be free from stress and sufferings.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ