การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อฝึกความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาสายวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (The Development of Supplementary Computer Multimedia Materials for Practicing on The Internet to Improve English Communication Ability of Educational Students of Nakhon Pathom Rajabhat University.)

Main Article Content

สุธาพร ฉายะรถี (Sutaporn Chayarathee)

Abstract

               จุดประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  เพื่อฝึกความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาสายวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ให้ได้ตามเกณฑ์ 75/75  2) เพื่อศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อฝึกความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษก่อนและหลังการใช้บทเรียน 3) ศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาของกลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกับกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ4) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อฝึกความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สายวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ที่เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับครู (1112102) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 60 คน ใช้เวลาทั้งสิ้น 15 สัปดาห์


               เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมิเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แผนการสอนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจำนวนอย่างละ 8 แผน แบบทดสอบทางอ้อมและทางตรง และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมิเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


               การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติทดสอบที (t-test) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษา และใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการหาค่าระดับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อฝึกความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ


 ผลการวิจัยพบว่า


  1. บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อฝึกความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 76.30/78.02 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

  2. ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลังการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสูงกว่าความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษก่อนการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อฝึกความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

  3. ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษากลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสูงกว่าความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษากลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ หลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

  4. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อฝึก ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นอยู่ในระดับมาก

 


               The purposes of this research were : 1) to develop and test the proficiency of English communication supplementary computer multimedia materials of Educational  Students at Nakhon Pathom Rajabhat University according to the criteria of 75/75, 2) to compare students’ English ability before and after using the English communication supplementary computer multimedia materials constructed, 3) to compare students’ English Communication Ability in the Experimental group taught by using English Communication Supplementary Computer Multimedia Materials through the Internet versus that of the students in the Control Group taught by Traditional Teaching Method  4) to study students’ satisfaction toward the English Communication Supplementary Computer Multimedia Materials of 60 second year students studying English Communication for Teachers (1112102) at Nakhon Pathom Rajabhat University in the first semester, Academic Year 2017.  The duration of the experiment and the control group covered fifteen weeks.


               The instruments used were Supplementary Computer Multimedia Materials for Practicing on the Internet, 8 Lesson Plans for each of the Experimental and Control group, the Direct and Indirect Test; and the satisfaction Questionnaire toward the English Communication Supplementary Computer Multimedia Materials.


               The t-test was used to analyze the data in order to assess the students’ English communication ability. In addition, the percentage, mean and standard deviation of items were used to evaluate the students’ satisfaction toward the English Communication Supplementary Computer Multimedia Materials.


               The results of the study were as follows:


  1. The average score of English communication supplementary computer multimedia materials E1/E2 was 76.30 percent, whereas that of the posttest was 78.02 percent. This means that the English listening-speaking supplementary computer multimedia materials through the internet constructed were of high effectiveness.

  2. The students’ English communication ability after using the English communication supplementary computer multimedia materials was higher than before using the English communication supplementary computer multimedia materials through the internet constructed at the 0.01 level.

  3. The students’ English Communication ability of the Experimental group taught by using Supplementary Computer Multimedia Materials through the internet was higher than that of the Control group taught by Traditional Teaching Method after the experiment at the 0.01 level.

  4. The students’ satisfaction toward the English communication supplementary computer multimedia materials through the internet was high level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ