การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้กิจกรรมทางกายแบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุ (Develop Holistic Physical Activity Learning Curriculum for Older Adults)

Main Article Content

อัจฉรา ปุราคม (Atchara Purakom)
ศิริชัย ศรีพรหม (Sirichai Sriprom)
ธารินทร์ ก้านเหลือง (Tharin Kanleung)

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้กิจกรรมทางกายแบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุ และ 2) เพื่อหาประสิทธิภาพหลักสูตรการเรียนรู้กิจกรรมทางกายแบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุ ขั้นตอนการวิจัยในการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหลักสูตร 4  ขั้นตอน ประกอบด้วย การกำหนดข้อมูลพื้นฐาน การออกแบบหลักสูตร การทดลองใช้และการหาประสิทธิภาพของหลักสูตร และการประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนในศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้กิจกรรมทางกายผู้สูงอายุ จำนวนทั้งสิ้น 60 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  และทำการเลือกตัวอย่างเข้ากลุ่ม 2 กลุ่มๆ ละ 30 คน โดยวิธีการอาสาสมัคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินการออกแบบกิจกรรม แบบวัดความรู้และทักษะ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อหลักสูตร และแบบประเมินสมรรถภาพการทำหน้าที่ทางกายและระดับกิจกรรม การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย Dependent t-test และ Independent t-test ผลการวิจัย พบว่า


  1. หลักสูตรการเรียนรู้กิจกรรมทางกายแบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยกลุ่มสาระการเรียนรู้ 6 กลุ่มสาระ คือ กิจกรรมทางกาย นันทนาการและการท่องเที่ยว ทักษะอาชีพ เกษตรเพื่อสุขภาพ การสื่อสารและเทคโนโลยี และการบริหารสมอง ภายใต้แนวคิดไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า ไม่เสื่อม คุณภาพของหลักสูตรจากการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน พบว่า หลักสูตรมีความตรงเชิงเนื้อหา และมีความเหมาะสม

  2. ประสิทธิภาพของหลักสูตรการเรียนรู้กิจกรรมทางกายแบบองค์รวม พบว่า หลังการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ 12 สัปดาห์ ในวงรอบ 2 กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม สมรรถภาพการทำหน้าที่ทางกาย ค่าความดันโลหิตบนและล่าง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ระดับกิจกรรมทางกายดีขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความพึงพอใจต่อหลักสูตรอยู่ในระดับสูง

       The objective of study was to develop holistic physical activity (HPA) learning curriculum for older adults and investigate the effectiveness of the holistic physical activity (HPA) learning curriculum for older adults.  The 4 step processes of research started from identified database, designed curriculum, and demonstrated within 12 weeks as well as investigated an effectiveness of the curriculum. The sample consisted of 60 older adults who registered at innovation physical activity learning center for elderly were recruited by purposive sampling and 30 sample were divided into 2 group by volunteer. The instrument included interviewing, designed activities evaluation, HPA knowledge and skill test questionnaire, opinion satisfaction toward curriculum and senior functional fitness test as well as physical activity level questionnaire. The results as follow ; 


  1. HPA learning curriculum for older adults were consisted of 6 course syllabus,namely; learning physical activity, recreation and tourism, occupational practicing skills, health agriculture, communication & technology and neurobic exercise under the concept of preventing fall, loss memory and depression and deterioration, which had been accessed by 5 expertise. It found that HPA learning curriculum had high validity and was appropriated.  

  1. After 12th weeks, older adults attended in 2nd circle which gained higher knowledge and skill and had senior fitness better than before participating, particularly, systolic, diastolic blood pressure and muscle endurance-strength test significantly (P<.05). Also their satisfied toward curriculum were at high level of which relevance to the criteria.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ