การศึกษาเปรียบเทียบผลการสอนทักษะการยิงประตูโดยการใช้คิวและไม่ใช้คิวที่มีต่อ ความแม่นยำในการยิงประตูเนตบอลของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ (The Comparison Study of Teaching overhead Shooting with Cue and Without Cue on Netball Shooting Accuracy of Student in Silpakorn University SanamchandraPalace Campus)
Main Article Content
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการใช้การสอนทักษะการยิงประตูแบบมือเดียวเหนือศีรษะโดยการใช้คิวและไม่ใช้คิว 2) เปรียบเทียบความแม่นยำในการยิงประตูแบบมือเดียวเหนือศีรษะโดยการใช้คิวและไม่ใช้คิว กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาจำนวน 40 คน อายุระหว่าง 20-25 ปี ที่เรียนวิชาเนตบอล ของมหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ขั้นแรกทำการสุ่มนักศึกษาด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย(Simple Random Sampling) จำนวน 100 คน ขั้นที่สอง ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Sampling) โดยให้นักศึกษาทุกคนทำการทดสอบการยิงประตูแบบมือเดียวเหนือศีรษะ คนละ 10 ครั้ง เพื่อคัดกลุ่มตัวอย่างให้เหลือ 40 คน ขั้นที่สาม ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Cluster Sampling) โดยนำคะแนนที่ได้จากการทดสอบมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม มีความสามารถในการยิงประตูที่ใกล้เคียงกัน ขั้นสุดท้ายใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยการจับฉลาก เพื่อแบ่งว่ากลุ่มใดเป็นกลุ่มที่ 1 และ 2 แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน คือ กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มที่ได้รับการสอนทักษะการยิงประตูมือเดียวเหนือศีรษะโดยไม่ใช้คิว กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่ได้รับการสอนทักษะการยิงประตูมือเดียวเหนือศีรษะโดยใช้คิวตามลำดับ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
- คะแนนเฉลี่ยการยิงประตูเนตบอลแบบมือเดียวเหนือศีรษะของทั้งสองกลุ่มก่อนการทดลองและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างพบว่าทั้งสองกลุ่มมีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้น
- คะแนนเฉลี่ยการยิงประตูเนตบอลแบบมือเดียวเหนือศีรษะของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มหลังการทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าการสอนทักษะการยิงประตูโดยการใช้คิวและไม่ใช้คิวที่มีต่อความแม่นยำในการยิงประตูเนตบอลมีผลไม่แตกต่างกัน และพบว่าความแม่นยำเพิ่มขึ้นในทั้ง 2 กลุ่ม
The purpose of this research was to study and comparison the effect of teaching overhead shooting with Cue and Without Cue on Netball Shooting Accuracy of Student in Silpakorn University Sanamchandra Palace Campus. The subjects were 40 students, age between 20-25 years who studied Netball Shooting Accuracy. Simple random sampling of 100 students was used at the first stage, following with stratified random sampling of 40 students. Each student was assigned to test with Teaching overhead Shooting ten times to screen samples and selected the remaining of 40 students. The third stage, multistage cluster sampling was applied in order to divide students into two groups using scores from the test as a benchmark for the segment. There were twenty students in each group. These two groups had the same ability of shooting.
The research findings revealed that:
- The average score of one-handed overhead shootings of the two groups before and after the experiment was not significantly different. However, when considering the mean score of the sample, it was found that the two groups developed in a better way.
- The average score of one-handed overhead shootings of the two groups was Significantly higher than before the experiment at the .01 level.
The conclusion of this study was that the teaching of shoot-and-shoot skills using cue and no-cue firing technique was not different. It was found that the two groups were accuracy develop.