ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน ในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ (Administrative Factors Affecting the 21st Century Learning Skill Development of students in Schools under Local Administration Organizations in Phetchaburi and Prachuap Khiri Khan Provinces)

Main Article Content

ชุติมา ชูวงษ์ (Chutima Chouwong)
อัญชนา พานิช (Anchana Panich)

Abstract

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษา 2)การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในสถานศึกษาและ 3) ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ของนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์  จำนวน 242 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกนและใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


            ผลการวิจัยพบว่า  1) ปัจจัยการบริหารของผู้บริหารในสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่  ด้านการติดต่อสื่อสาร รองลงมา ได้แก่ ด้านการปฏิสัมพันธ์และอิทธิพล และด้านการกำหนดเป้าหมาย ตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านแรงจูงใจ  2) การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านทักษะด้านสารสนเทศ  สื่อ และเทคโนโลยี รองลงมา ได้แก่ ด้านทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม  3) ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในสถานศึกษาได้แก่ ด้านมาตรฐานการปฏิบัติงานและการฝึกอบรม (X8) และด้านการกำหนดเป้าหมาย (X6) โดยมีค่าประสิทธิภาพในการทำนาย (R2) ร้อยละ 21.50 สามารถเขียนเป็นสมการวิเคราะห์การถดถอยได้ดังนี้


= 1.549 + 0.285(X8) + 0.234(X6)


            The purposes of this research were to study 1) the administrative factors of school administrators  2) the 21st century learning skills development of students and 3) administrative factors affecting the 21st century learning skills development of students in schools under local administrative organizations in Phetchaburi and Prachuap Khiri Khan Provinces. The research samples were 242 teachers in schools under local administrative organizations in Phetchaburi and Prachuap Khiri Khan Provinces, define the sample using the tables of Krejcie & Morgan by stratified random sampling. The research tool was a 5-level rating scale questionnaire. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis.


            The research results were as follows:


  1. The administrative factors of school administrators were at a high level both in overall and in each aspect. The aspect with the highest mean score was communication whereas the other aspects with lower mean scores were, ranked in descending order of their mean scores, interaction and influence, goal determination. The aspect with the lowest mean score was motivation.

  2. The 21 st century learning skills development of students  were at a high level both in overall and in each aspect. The aspect with the highest mean score was the information, media, and technology skills whereas the other aspects with lower mean scores was ,life and career skills, The aspect with the lowest mean score was learning and innovation skills.

  3. The administrative factors affecting the 21st century learning skills development of students in schools were work performance and training standards (X8), and goal determination (X6), with predictive efficiency (R2) for 21.50%. The regression analysis equation was as follows:  = 1.549 + 0.285(X8) + 0.234(X6).

          The research finding revealed that the administrative factors in the aspects of work performance and training standards and goal determination  affected development of 21st century learning skills of students in schools. Therefore, administrators and teachers should cooperate in setting work performance standards for using as a tool in controlling the operation to achieve the goal in development of 21st century learning skills of students in schools so that the students could be prepared to have skills for their efficient living in 21st century world.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ