ผลการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เสริมศักยภาพการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (The Effect of Using e-Learning Courseware with Scaffolding to Develop Learning Achievement of Undergraduate Students)

Main Article Content

ธิดารัตน์ กุลณัฐรวงศ์ (Thidarat Kulnattarawong)

Abstract

                   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาผลการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เสริมศักยภาพการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้งานบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เสริมศักยภาพการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัย ได้แก่  นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา การพัฒนาเว็บ (02-313-301) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ขั้นตอนในการวิจัย แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) จัดเตรียมเครื่องมือสำหรับงานวิจัย ประกอบด้วย บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เสริมศักยภาพการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นแบบประเมินคุณภาพด้านความเหมาะสมของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เสริมศักยภาพการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจสำหรับผู้เรียน  2) ทดสอบบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เสริมศักยภาพการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น 3) หาประสิทธิภาพและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เสริมศักยภาพการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น 4) ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เสริมศักยภาพการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น  5) วิเคราะห์ผลและสรุปผล ผลการวิจัย พบว่า 1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เสริมศักยภาพการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.52 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80 เปอร์เซ็นต์ และผลประเมินความเหมาะสมของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เสริมศักยภาพการเรียนรู้ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 3.78, S.D. = 0.26)  2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เสริมศักยภาพการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 3.41, S.D. = 0.57)


 


               The objectives of this study were 1) to study the effect of using e-Learning courseware with scaffolding to develop learning achievement of undergraduate students  and 2) to study the satisfaction of using e-Learning courseware with scaffolding. The sample group was 30 third-year undergraduate students studied in subject of web development (02-313-301), Faculty of Technical Education at Rajamangala University of Technology Thanyaburi.  They were obtained by purposive selection. The research was divided into five methods which consisted of 1) the prepare tools for research which consisted of e-Learning courseware with scaffolding, evaluation of suitability e-Learning courseware with scaffolding, achievement test (pre-test and post-test) and questionnaire for satisfactions 2) the test of e-Learning courseware with scaffolding 3) the efficiency and comparisons of average score of students before and after using e-Learning courseware with scaffolding 4) the evaluation in term of satisfaction among students with regard to the use of the e-Learning courseware with scaffolding and 5) the analysis and conclusion. The results revealed that 1) the efficiency of e-Learning courseware with scaffolding was at 80.52 which the criterion at 80 and the evaluation of suitability e-Learning courseware with scaffolding by the experts were totally appropriate at the excellent level ( = 3.78, S.D.= 0.26). 2) the post-test scores were higher than the pre-test scores with statistically significant difference at the .05 level and 3) the student's satisfaction to the use of the e-Learning courseware with scaffolding was at the most satisfaction ( = 3.41, S.D.= 0.57).


 


 


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ