การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร (Study on the Desirable Characters of Students at The Demonstration School of Silpakorn University)

Main Article Content

บุญรอด ชาติยานนท์ (Boonrod Chatiyanon)

Abstract

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร  จำแนกตามเพศ และระดับชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2559 จำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ เครื่องมือวิจัยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.60 - 1.00 มีค่าความเชื่อมั่น(reliability) เท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าที (t-test for independent ) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และถ้าพบว่ามีความแตกต่างกันจะทำการทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method)


       ผลการวิจัยพบว่า


  1. นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร มีระดับความคิดเห็นต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยจากมาก ไปหาน้อย ดังนี้ ด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ด้านรักความเป็นไทย ด้านมุ่งมั่นในการทำงาน  ด้านอยู่อย่างพอเพียง ด้านซื่อสัตย์ สุจริต ด้านมีจิตสาธารณะ ด้านมีวินัย  และด้านใฝ่เรียนรู้ ตามลำดับ

  2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร จำแนกตามเพศ และระดับชั้นเรียน ปรากฏผลดังนี้

                    2.1   นักเรียนที่มีเพศต่างกันมีระดับความคิดเห็นต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน


                    2.2   นักเรียนที่มีระดับชั้นเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยรวม ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านซื่อสัตย์สุจริตนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความคิดเห็นแตกต่างกันกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  และด้านมีวินัยนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  มีความคิดเห็นแตกต่างกันกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ