สภาพ ปัญหา และความต้องการการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (State, Problems, and Needs for Self-Development for Work among the elderly home-care volunteers)

Main Article Content

ภัสราภรณ์ ศรีอาจนันทโชติ (Patsaraporn Sriardnantachot)
อาชัญญา รัตนอุบล (Archanya Ratana-ubol)

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ (Survey) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ประชากรได้แก่ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (อผส.) ในเขตภาคกลางจำนวน 18 จังหวัด กลุ่มตัวอย่างเป็นการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสระบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดเพชรบุรี รวมทั้งหมด 753 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามเรื่องสภาพ ปัญหา และความต้องการ การพัฒนาตนเองของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าสภาพการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เหตุผลที่ส่วนใหญ่เป็นอาสาสมัครคือต้องการช่วยเหลือผู้สูงอายุ และเหตุผลส่วนใหญ่ในการพัฒนาตนเองคือ นำความรู้และวิธีการใหม่ๆมาดูแลและแนะนำผู้สูงอายุและครอบครัวโดยส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างในการพัฒนาตนเอง และวิธีการพัฒนาตนเองส่วนใหญ่ใช้วิธีการเข้ารับฝึกอบรม และเนื้อหาที่เรียนรู้ได้แก่ เรื่องการดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น และส่วนใหญ่เรียนรู้จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ปัญหาและความต้องการแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านแรงจูงใจ ด้านสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ บ้านวิธีการพัฒนาตนเอง และด้านเนื้อหากิจกรรมการเรียนรู้ พบว่าปัญหาทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับน้อย ซึ่งปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ปัญหาด้านแรงจูงใจ ได้แก่เรื่องของค่าตอบแทนที่ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.8 และความต้องการทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก ซึ่งความต้องการที่พบมากที่สุดคือ ความต้องการด้านเนื้อหากิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ต้องการวิธีการพูดคุยให้คำแนะนำหรือให้กำลังใจแก่ผู้สูงอายุโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67


 


             This study was a survey research. The objective of this study was to investigate status, problems, and needs for self-development for better practices of elderly home-care volunteers. The population of this study was elderly home-care volunteers in 18 provinces of central region. The samples were selected based on purposive sampling from Phra Nakhon Si Ayutthaya, Saraburi, Suphan Buri, and Phetburi provinces. The sample size was 753. Research instrument was a questionnaire on status, problems, and needs for self-development for better practices of elderly home-care volunteers. Data were analyzed through percentage, mean and standard deviation.


            The results of this study indicated as follows. In terms of self-development status for better practice of elderly home-care volunteers, the most commonly reason to become a volunteer was the need for helping elderly. The most commonly reason for self-development was applying knowledge and new practices and giving recommendations to elderly and their family. They spent free time for self-development and took the training programs as a method for self-development. They learned the content of basic elderly care.  Sub-district health promoting hospital was their learning source. Their problems and needs for self-development could be divided into four areas including motivation, learning promoting environment, self-development methods, and learning activities content. Four areas of the problems were evaluated at low levels. The most commonly found problem was motivation including unbalanced compensation and work level with a mean score of 2.8. Four areas of needs were evaluated at high levels. The most needed area was learning activities content including the needs for discussion, conservation, recommendations, and support for the elderly with a mean score of 3.67.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ