ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการเรียนของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 – 6 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (Factors affecting learning stress of 4th - 6th year medical students. Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital Mahidol University)

Main Article Content

สิรินิตย์ พรรณหาญ (Sirinit Phanhan)
บุญมี พันธุ์ไทย (Boonmee Panthai)
กมลทิพย์ ศรีหาเศษ ksrihaset@gmail.com

Abstract

        การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความเครียดของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 – 6 (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับความเครียดของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 – 6 และ (3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 – 6 โดยได้ทำการศึกษากับตัวอย่างจำนวน 218 คนที่เป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 – 6 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เครื่องมือที่ใช้ใน  การวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเฟียร์สัน (Pearson product moment correlation coefficient) และสมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise multiple regression) ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้


  1. นักศึกษาแพทย์ส่วนใหญ่มีระดับความเครียดอยู่ในระดับเครียดปานกลาง

  2. ปัจจัยด้านการเรียนการสอน ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านจิตใจ ปัจจัยด้านร่างกาย ปัจจัยด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษาแพทย์อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยปัจจัยด้านการเรียนการสอน มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษาแพทย์มากที่สุด มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.731

  3. ปัจจัยด้านการเรียนการสอน ปัจจัยด้านจิตใจ ปัจจัยด้านร่างกาย ปัจจัยด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม มีผลต่อความเครียดของนักศึกษาแพทย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ร่วมกับอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 74.30

 


          In this study, the objectives of this study were: (1) to study the level of stress of medical students in the 4th - 6th year, (2) to study the factors affecting the stress of medical students in the 4th - 6th year. The samples were 218 medical students from the 4th - 6th Year Medical Students, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital Mahidol University. The instruments used in the research were questionnaires, statistics used in data analysis, frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, Pearson Product Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression. The results are as follows:


  1. Most medical students have stress levels of moderate stress

  2. Teaching and learning, Family, Psychic, Physical, Relationship with others and Environment, there was a significant relationship with the stress of medical students at .01. By the factor of teaching and learning, the correlation coefficients of stress were the highest. The correlation coefficient was 0.731.

  3. Teaching and learning factors, Psychic factor, Physical factor, Relationships with others factor and environmental factors affect the stress of medical students. Statistically significant at .01, the variance was explained by 74.30%.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ