การวิเคราะห์ปัจจัยเสริมสร้างศักยภาพด้านการวิจัยในชั้นเรียนของผู้สอนระดับอุดมศึกษา (Factor analysis of classroom research competency enhancement among university lecturers )

Main Article Content

อาฟีฟี ลาเต๊ะ (Afifi Lateh)
มัฮดี แวดราแม (Mahdee Waedramae)
แวฮาซัน แวหะมะ (Weahason Weahama)
สุพรรษา สุวรรณชาตรี (Supansa Suvanchatree)
นูรอาซีกีน ยีสมัน (Noorasikin Yeesaman)
ศุภกาญจน์ บัวทิพย์ (Supakan Buathip)
สินี คูหามุข (Sinee Khuhamuc)

Abstract

                 การวิเคราะห์ปัจจัยเสริมสร้างศักยภาพด้านการวิจัยในชั้นเรียนของผู้สอนระดับอุดมศึกษาในครั้งนี้ ได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นอาจารย์ระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยที่สามารถเข้าถึงแบบสอบถามออนไลน์
ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 160 คน จากข้อคำถามแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 16 ข้อ และข้อคำถามปลายเปิดจำนวน 2 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยเสริมสร้างศักยภาพด้านการวิจัยในชั้นเรียนของผู้สอนระดับอุดมศึกษาประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) ระบบแกนนำเร้าศักยภาพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้และการทำวิจัยในชั้นเรียน 2) กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ และ 3) การร่วมวางแผน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยความเป็นกัลยาณมิตร สำหรับผลการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาต่อความกังวลในการทำวิจัยในชั้นเรียนของผู้สอนระดับอุดมศึกษาปรากฎความกังวลใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) ด้านความรู้ความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน 2) ภาระหน้าที่และการสนับสนุนจากผู้บริหาร และ 3) การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนการสอดแทรกกระบวนการเพื่อให้การทำวิจัยในชั้นเรียนประสบความสำเร็จนั้น กลุ่มตัวอย่างให้ความคิดเห็นใน 2 ประเด็น ได้แก่ 1) ระบบพี่เลี้ยงและการโค้ช รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และ 2) การให้ความสำคัญและรางวัลจูงใจต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน


 


                  Factor analysis of classroom research competency enhancement among 160 university lecturers in Thailand via online questionnaire with 16 items of rating scale and 2 items of open ended. The research finding was the classroom research competency among university lecturers could be divided in three factors as 1) Potential lead systems to develop learning management and classroom research, 2) Learning together process to develop an important learner, and 3) Participating in the planning of learning activities with true friend. Moreover, there were three aspect of classroom research concerns including 1) Classroom research knowledge, 2) Executive duties and support, 3) Learning activities design. For inclusion of processes to ensure successful classroom research consisted with 1) Mentoring and coaching systems as well as learning exchange between each other, and 2) Giving priority and incentives to classroom research.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ