เปอรานากัน : บาบ๋า-ย่าหยามรดกทางวัฒนธรรมสายเลือดลูกผสมมลายู-จีน

Main Article Content

อติยศ สรรคบุรานุรักษ์ (Atiyot Sankaburanurak)
ศศิณัฎฐ์ สรรคบุรานุรักษ์ (Sasinat Sankaburanurak)

Abstract

                เปอรานากัน สายเลือดลูกผสมระหว่างมลายูและจีน ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบมลายูและพื้นที่ชายฝั่งทะเลของเกาะชวาและเกาะสุมาตราในช่วงต้นศตวรรษที่ 15 ในช่วงศตวรรษที่ 19 เปอรานากันอพยพเข้ามาในเขตท่าเรือของปีนังและสิงคโปร์ ซึ่งอยู่ในช่วงขยายอาณานิคมของอังกฤษ ชาวเปอรานากันประสบความสำเร็จในฐานะพ่อค้าจนกลายมาเป็นนักทำการค้ามืออาชีพในเวลาต่อมา ชุมชนชาวเปอรานากันถูกขนานนามว่า ช่องแคบจีน (Straits Chinese) หรือบาบ๋า ย่าหยา คำที่ใช้เรียกสายเลือดลูกผสมระหว่างมลายูและจีนที่ถือกำเนิดและอาศัยในแถบคาบสมุทรมลายู-อินโดนีเซีย อันได้แก่ เมืองมะละกา เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์และหมู่เกาะชวาอินโดนีเซีย คำว่า บ้าบ๋า เป็นคำที่มาเลย์ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย แปลว่า การให้เกียรติ บรรพบุรุษ และถูกนำมาใช้เรียกชาวจีนเลือดผสมที่เป็นเพศชาย และคำว่า ย่าหยา นำมาใช้เรียกชาวจีนเลือดผสมที่เป็นเพศหญิง ซึ่งเป็นคำที่ชาวชวายืมมาจากภาษาอิตาลี แปลว่า หญิงต่างขาติที่แต่งงานแล้ว หรืออาจจะมาจากภาษาโปตุเกสที่แปลว่าคุณผู้หญิง บทความนี้นำเสนอประวัติความเป็นมา วิถีชีวิตและความผสมผสาน ความเป็นพหุวัฒนธรรมของเปอรานากันสายเลือดลูกผสมระหว่างมลายูและจีน


              Peranakan refers to people of mixed Chinese and Malay who settled in Malayan and costal area on Java and Sumatra islands in the early 15th century. In 19th century that was the period of British colonization, Peranakan immigrants came to the ports of Penang and Singapore as merchandisers. They succeeded and became professional traders Peranakan community is commonly as known as Straits Chinese or Baba-Yaya. This word is used among the ethnic  Chinese and Malay who were born and settled in Malay- Indonesia Peninsula; Malaka, Penang, Malaysia, Singapore, and Java islands in Indonesia. “Baba” is a Malay word borrowed from Persian which means honoring ancestors and is used to call male Peranakan, Female Peranakan is called as “Yaya”, a Java words borrowed from Italian which means married foreign woman or perhaps be based on Portuguese that mean “lady”. This article provided historical background, tradition and multicultural of Peranakan, Chinese-Malay descendants.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ