การพัฒนารูปแบบการสอนออนไลน์ระบบเปิดสำหรับสถาบันอุดมศึกษา รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม (The Development of Online Learning Model of Massive Open Online Course of Information Technology for Archives and Cultural Heritage Information Management)

Main Article Content

ปานใจ ธารทัศนวงศ์ (Panjai Tantasanawong)
วรวุฒิ มั่นสุขผล (Worawut Mansukpol)
ผุสดี ดอกพรม (Phussadee Dokphrom)

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบรูปแบบการสอนออนไลน์ระบบเปิดสำหรับสถาบันอุดมศึกษา รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม 2) เพื่อประเมินรูปแบบการสอนออนไลน์ระบบเปิดสำหรับสถาบันอุดมศึกษา รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ โดยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน (1) ขั้นออกแบบ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตอบแบบสัมภาษณ์ จำนวน 20 คน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนออนไลน์ระบบเปิด จำนวน10 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านวิธีสอนออนไลน์ จำนวน 10 คน และอาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีประสบการณ์สอนออนไลน์ เพื่อตอบแบบสำรวจความคิดเห็น จำนวน 20 คน  (2) ขั้นประเมินรูปแบบ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนออนไลน์ระบบเปิด จำนวน 10 คน  โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการสอนออนไลน์ระบบเปิดสำหรับสถาบันอุดมศึกษา รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม 2) แบบประเมินรูปแบบการสอนออนไลน์ระบบเปิดสำหรับสถาบันอุดมศึกษา รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


 ผลการวิจัยพบว่า


  1. รูปแบบการสอนออนไลน์ระบบเปิดสำหรับสถาบันอุดมศึกษา รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทาง มีองค์ประกอบ จำนวน 9 องค์ประกอบ และมีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน ดังนี้ (1) วิธีสอน (2) โครงสร้างรายวิชา (3) แผนการเรียนรู้ (4) สื่อการเรียนรู้ (5) กิจกรรมการ เรียนรู้ (6) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (7) ผู้เรียน (8) ผู้สอน และ (9) การติดต่อสื่อสารขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ระบบเปิดสำหรับสถาบันอุดมศึกษา มี 6 ขั้นตอน ดังนี้ (1) แนะนำรายวิชา (2) ประเมินก่อนเรียน/แบบทดสอบก่อนเรียน (3) ศึกษาบทเรียนวีดิทัศน์/เนื้อหา/ ด้วยตนเอง (4) กิจกรรม อภิปราย/ค้นคว้าเพิ่มเติม (5) ประเมินระหว่างเรียน/แบบฝึกหัด และ (6) ประเมินหลังเรียน/แบบทดสอบหลังเรียน

  1. ผลการประเมินความเหมาะสมรูปแบบการสอนออนไลน์ระบบเปิดสำหรับสถาบันอุดมศึกษา โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (gif.latex?\bar{x} = 4.38, S.D. =0.58)

       The purposes of this research were: 1) to design  the  online learning  model of massive open online course (MOOC) of information technology for archives and cultural heritage information management, and 2) evaluate the appropriateness of  an online learning model of massive open online course of information technology for archives and cultural heritage information management.  The sample were used into 2 sections; (1) the design step consisted of 20 specialists for interviewing; 10 specialists in online learning model of massive open online course,  and 10 specialists in online  learning model, and (2) the survey opinion step consisted of 10 college teachers who has experienced in online learning model. They were selected by purposive sampling technique.


               The instruments consisted of 1) the online learning model of massive open online course   (MOOC), 2) evaluate form for the appropriated design the online learning model of massive open   online course. The data were statistically analyzed by using percentage (%), arithmetic mean ( ),   and standard deviation. (S.D.)  


               The research findings were:


               1.The online learning model of massive open online course consisted of 9 components; 1)methods, 2) course structure, 3)lesson plan, 4)learning media, 5)learning  activities, 6)measurement and evaluation of learning, 7)learner, 8)instructor, and 9)communications. The MOOC model comprised parts; 1)orientation, 2) pre-test, 3) study video lesson, 4) activities, 5) formative evaluation, and 6) posttest.


  1. 2. The result of the appropriateness evaluation for designing online learning model massive open online course (MOOC) was at a high level. ( gif.latex?\bar{x}= 4.38, S.D.=0.58).

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts