การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์โดยบูรณาการตามหลักนิยาม 5 เพื่อพัฒนามโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์และจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (The Development Of Geography Instructional Model By Integrating With The Niyama 5 To Enhance Geography Concepts And Consciousness Of Natural Resources Conservation Of Junior High School Students)

Main Article Content

ปุณณวัช ทัพธวัช (Punnawat Thuptawat)
อรพิณ ศิริสัมพันธ์ (Orapin Sirisamphan)

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์โดยบูรณาการตามหลักนิยาม 5 และ 2) ประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์โดยบูรณาการตามหลักนิยาม 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 จำนวน 36 คน ที่เรียนรายวิชา ส 21101 สังคมศึกษา สาระการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561  โรงเรียนราชินีบูรณะ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 แบบแผนที่ใช้ในการวิจัยคือ การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ประยุกต์ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One - Group Pretest - Posttest Design) ร่วมกับแบบแผนการทดลอง  แบบอนุกรมเวลาสมมูล (Equivalent Times Series Design)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์โดยบูรณาการตามหลักนิยาม 5  2) แผนการจัดการเรียนรู้  3) แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ 4) แบบทดสอบวัดจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ  5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์โดยบูรณาการตามหลัก  นิยาม 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


  1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์โดยบูรณาการตามหลักนิยาม 5 มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และเงื่อนไขการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ไปใช้ ประกอบด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นศึกษาปรากฏการณ์โดยบูรณาการตามหลักนิยาม 5 2) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยบูรณาการตามหลักนิยาม 5 3) ขั้นวิเคราะห์ปรากฏการณ์โดยบูรณาการตามหลักนิยาม 5 และ 4) ขั้นเสนอแนวทางการปฏิบัติและสรุปโดยบูรณาการตามหลักนิยาม 5

            2. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์โดยบูรณาการตามหลักนิยาม 5 พบว่า 1) มโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) จิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของนักเรียนมีพัฒนาการอยู่ในระดับสูง และ 3) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


            The purposes of this research were to: 1) develop of the geography instructional model  by integrating with the niyama 5 and 2) evaluate the effectiveness of the geography instructional model by integrating with the niyama 5.  The sample of this research consisted of 36 Matthayomsueksa 1/2 students studying in the first semester of the academic year 2018  in rachineeburana school, mueang nakhonpathom district, nakhonpathom province of   the secondary education service area office 9. The research design was quasi-experimental research : one - group pretest - posttest design and equivalent times series design. The research instruments were: 1) handbook of the geography instructional model by integrating with the niyama 5 2) lesson plans  3) a geography concepts test 4) a test of consciousness of natural resources conservation and 5) a questionnaire on the students’ opinions towards the geography instructional model by integrating with the niyama 5. The collected data was analyzed by mean ( ), standard deviation (S.D.), dependent samples t-test and content analysis. The findings were as follows:


  1. The geography instructional model by integrating with the niyama 5 consisted of principles, objectives, process of learning, assessment and conditions for implementation. The instructional process were comprised of 4 steps, namely 1) study of the phenomenon  by integrating with the niyama 5 2) sharing of learning by integrating with the niyama 5  3) analysis of the phenomenon by integrating with the niyama 5 and  4) suggestion for performing and conclusion by integrating with the niyama 5.

  2. The study of the effectiveness of the geography instructional model by integrating with the niyama 5 revealed that 1) The geography concepts of students after implementing the model was higher than before the implementation at the significant level of .05.  2) The development of students’ consciousness of natural resources conservation was at the high level and  3) The students’ overall opinions towards the geography instructional model was at the highest level.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

ภาษาไทย
Rungrưang, K. (2013). “kānčhatkān rīan kānsō̜n sāra phūmisāt” [The Management of
Geography Instruction]. Bangkok: Suweeriyasarn.
กิตติคุณ รุ่งเรือง. (2556). การจัดการเรียนการสอนสาระภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
Suthasinobon, K. (2015). “kānčhatkān rīan kānsō̜n bǣp phuttha phư̄a phatthanā khunnatham
čhariyatham samrap nakrīan” [Buddhist Instruction Model]. Bangkok: Commercial World
Media Co.,Ltd.
กิตติชัย สุธาสิโนบล. (2558). การจัดการเรียนการสอนแบบพุทธะเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมสำหรับ
นักเรียน. กรุงเทพฯ: บริษัทคอมเมอร์เชียล เวิลด์ มีเดีย จำกัด.
Suwanwech, K. (2015). “kānphatthanā rūpbǣp kān rīan kānsō̜n phư̄a songsœ̄m samatthana
kānsō̜n phūmisāt samrap naksưksā wichāchīp khrū sangkhommasưksā” [The
Development of Instructional Model to Enhance Geography Teaching Competency for
Undergraduates in Social Studies]. Graduate School, Silpakorn University.
แก้วใจ สุวรรณเวช. (2558). “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์
สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษา.” ปริญญานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Sukpom, T. (2014). “kānphatthanā rūpbǣp kān rīan kānsō̜n tām nǣo phut withī phư̄a
sœ̄msāng khunnalaksana bandit thī phưng prasong dān khunnatham čhariyatham
khō̜ng naksưksā mahāwitthayālai rātchaphat čhanthra kasēm” [The Development of an
Instructional Model Based on Buddhist Way to Enhance the Desirable Morality Characteristics of Chandrakasem Rajabhat University Students]. Kasem Bundit Journal
15, 1 (January - June): 56-57.
ฐิติวัสส์ สุขป้อม. (2557). “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวพุทธวิธีเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะ
บัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรมจริยธรรม ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.”
วารสารเกษมบัณฑิต 15, 1 (มกราคม - มิถุนายน): 56-57.
Khaemanee, T. (2010). “sāt kānsō̜n : ʻongkhwāmrū phư̄a kānčhat krabūankān rīanrū thī mī
prasitthiphāp .” [Science Education: Knowledge for Effective Learning Management].
(12nd ed.) Bangkok: Chulalongkorn University.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ruangpanich, N. (2013). “kānʻanurak sapphayākō̜n thammachāt læ singwǣtlō̜m”
[The conservation of natural resource and environment]. (5th ed.) Bangkok:
Uopen Co., Ltd.
นิวัติ เรืองพานิช. (2556). การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:
บริษัทยูโอเพ่น จำกัด.
Wasi, P. (2011). “patirūp prathēt Thai patirūp čhitsamnưk” [Thailand Reform and Consciousness
reform]. Nonthaburi: Manusfilm.
ประเวศ วะสี. (2554). ปฏิรูปประเทศไทย ปฏิรูปจิตสำนึก. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัดมณัสฟิล์ม.
Phra Dhammapitaka (P.A. Payutto). (1993). “čha phatthanā khon kandai yāngrai ( phut sātsanā
kap kānphatthanā manut)” [Buddhism with improve the human]. (2nd ed.) Bangkok:
Sahathammik Co., Ltd.
พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2536). จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร (พุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์).
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทสหธรรมิก จำกัด.
_______. (2003). “sū kānsưksā nǣo phut” [Buddhism Education]. (2nd ed.) Bangkok: phut tham.
_______. (2546). สู่การศึกษาแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2010). “photčhanānukrom phut sāt chabap pramūan
tham” [Dictionary of Buddhism]. (18th ed.) Nonthaburi: Phoem sap kanphim.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 18.
นนทบุรี: โรงพิมพ์เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.
Bhattarakosol, P. (2007). “thammachāt witthayā” [Natural Sciences]. Bangkok:
Chulalongkorn University.
ภัทรสินี ภัทรโกศล. (2550). ธรรมชาติวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Royal Society. (2012). “photčhanānukrom sap sưksā sāt” [Dictionary of Education]. Bangkok:
Aroonkarnpim.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
Wankomol, W. (1999). “kānsō̜n sangkhommasưksā nai radap matthayommasưksā” [Teaching
Social Studies in Secondary Education]. (2nd ed.) Bangkok: Dhonburi Rajabhat University.
วันเพ็ญ วรรณโกมล. (2542). การสอนสังคมศึกษาในระดับมัธยมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
สถาบันราชภัฏธนบุรี.
Wattananimitgul, W. (2007). “kānphatthanā rūpbǣp kānsō̜n : ʻongkhwāmrū phư̄a kānphatthanā
sū phūchīeochān kānsō̜n” [The Development of Instructional Model: Body of
Knowledge for Development to the Expert of Teaching]. Bangkok: Bansomdejchaopraya
Rajabhat University.
วิโฬฏฐ์ วัฒนานิมิตกูล. (2550). การพัฒนารูปแบบการสอน: องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาสู่ผู้เชี่ยวชาญการสอน.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
Sripahol, S. (2009). “kānčhatkān rīan kānsō̜n klum sāra kān rīanrū sangkhommasưksā sātsanā læ
watthanatham” [Instruction of the Social Studies, Religion and Culture Learning Area].
Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.
สิริวรรณ ศรีพหล. (2552). การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม.
นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Kotrakul, S. (2013). “čhittawitthayā kānsưksā” [Educational Psychology]. (11st ed.) Bangkok:
Chulalongkorn University.
สุรางค์ โคว้ตระกูล. (2556). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
Wannapok, S. (1997). “phut withī sō̜n čhāk phra traipidok” [Buddhist Teaching Methods].
Nonthaburi: Petchrungkanphim Co., Ltd.
เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2540). พุทธวิธีสอนจากพระไตรปิฎก. นนทบุรี: บริษัทเพชรรุ่งการพิมพ์ จำกัด.
Office of The National Economics and Social Development Board. (2017). “phǣn phatthanā
sētthakit læ sangkhom hǣng chāt chabap 12” [The Twelfth National Economic and
Social Development Plan (2017-2021)]. Retrieved on May 29, 2017 from
https://www.nesdb.go.th.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). เข้าถึงเมื่อ 29 พฤษภาคม. เข้าถึงได้จาก
https://www.nesdb.go.th.
Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. (2016.) “nayōbāi læ
phǣnkān songsœ̄m læ raksā khunnaphāp singwǣtlō̜m hǣng chāt Phō̜.Sō̜. 2540-2559”
[Policy and Planning of Promotion and Conservation of National Environmental
Quality 1997-2016]. Retrieved on October 13, 2016 from https://www.onep.go.th.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). นโยบายและแผนการ
ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2540-2559. เข้าถึงเมื่อ 13 ตุลาคม.
เข้าถึงได้จาก https://www.onep.go.th.
Ministry of Education. (2017). “tūa chī wat læ sāra kān rīanrū kǣn klāng sāra phūmisāt
(chabap prapprung Phō̜.Sō̜. 2560) klum sāra kān rīanrū sangkhommasưksā sātsanā læ
watthanatham tām laksūt kǣn klāng kānsưksā naphư̄n thān Phutthasakkarāt 2551
læ nǣo kānčhat kitčhakam kān rīanrū” [The Basic Education Core Curriculum B.E.2551
(Revised edition B.E.2560)]. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand, Ltd.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง
พ.ศ.2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ภาษาต่างประเทศ
Aydm, F. (2011). “Secondary school students’ opinions about geography course:
A qualitative Study.” Archives of Applied Science Research 3, : 297-305.
Joyce, B., Weil, M. and Calhoun, E. (2009). Models of Teaching. 8th ed. United States
Of America: Pearson Education, Inc.
Kruse, K. (2015). Introduction to Instructional Design and The ADDIE Model.
Accessed November 1. Available from https://www.transformativedesigns.com.
P21 partnership for 21st century learning. (2016). Framework for 21st century
learning. Accessed February 14. Available from https://www.p21.org.
Smith, M. (2002). Teaching Geography in Secondary Schools: A reader. New York:
Taylor and Francis e-Library.