การตัดสินใจออมเงินผ่านกองทุนการออมแห่งชาติของแรงงานนอกระบบ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช (Decision–Making of Informal Workers in Muang District, Nakhon Si Thammarat Province to Save Money in the National Savings Fund)

Main Article Content

รัชนี ปรีชา (Ratchanee Preecha)
ปานแก้วตา ลัคนาวานิช (Pankaewta Lakkanawanit)

Abstract

                 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการตัดสินใจออมเงินผ่านกองทุนการออมแห่งชาติ 2) ศึกษาระดับปัจจัยด้านแรงจูงใจ 3) ศึกษาระดับปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนการออมแห่งชาติ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านแรงจูงใจและปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนกับการตัดสินใจออมเงินผ่านกองทุนการออมแห่งชาติ โดยทำการศึกษาจากแรงงานนอกระบบ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 400 คน วิธีการเลือกตัวอย่าง โดยใช้วิธีแบบโควต้า โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นต่อแรงจูงใจด้านวัตถุประสงค์ในการออมเงินมีความเห็นในระดับมากที่สุด ด้านผู้ชักชวนในการออมเงิน ด้านค่านิยม และสิทธิประโยชน์ทางภาษี มีความเห็นในระดับมาก สำหรับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุน พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในระดับปานกลาง ในการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านแรงจูงใจ และปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนกับการตัดสินใจออมเงิน พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ จำนวนผู้ที่อยู่อุปการะ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ 2) ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ได้แก่ วัตถุประสงค์ในการออมเงิน ผู้ชักชวนในการออมเงิน ค่านิยม และสิทธิประโยชน์ทางภาษี และ 3) ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุน มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจออมเงินผ่านกองทุนการออมแห่งชาติของแรงงานนอกระบบ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช


               The objectives of this study were to study 1) decision-making to save money in the National Savings Fund 2) degree of motivation factors and 3) degree of knowledge factors and 4) relationship of personal, motivation, and knowledge factors to decision-making to save money in the National Savings Fund. The sample of this study were 400 Sampling by quota sampling informal workers in in Muang District, Nakhon Si Thammarat province. Data were collected by using questionnaire. Motivational factor was found to be the highest in terms of Purposes of saving, while other factors such as Persuader, Value, and Tax benefits were also found to be at a high level. As for knowledge and comprehension on the National Savings Fund, the population showed a moderate level. In addition, further correlation testing revealed that personal, motivational, and knowledge factors are significantly related to the decision-making of informal workers to save money in the National Savings Fund.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ