การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในภูมิภาคตะวันตก (The Western Region Schools’ Learning Management Model Development for Student Quality Development in Accordance with the Basic Educational Standards)

Main Article Content

นพพร จันทรนำชู (Nopporn Chantaranamchoo)
ยุวรี ผลพันธิน (Yuwaree Polpanthin)
พรรณ์ธิดา เหล่าพวงศักดิ์ (Phantida Laophuangsak)

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในภูมิภาคตะวันตก วิธีการดำเนินการวิจัย มี 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ระดับลึก และการสนทนากลุ่ม  ผู้ให้ข้อมูลหลักคือผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้ปกครองนักเรียนของโรงเรียน ในภูมิภาคตะวันตก รวม 20 คน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลักคือครูและนักเรียนจากโรงเรียนระดับประถมศึกษา 1 แห่ง และโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 1 แห่ง รวม 59 คน  ขั้นตอนที่ 3


                    การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดยการประชุมวิพากษ์และแสดงความคิดเห็นเพื่อกำหนดแนวทางร่วมกับผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครองของนักเรียน ศึกษานิเทศก์ บุคลากรจากสำนักงานเขตพื้นที่ทางการศึกษาในภูมิภาคตะวันตก โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม 42 คน และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการสรุปเชิงอุปนัย


ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ประกอบด้วยรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร และทักษะความพร้อมทางอาชีพ โดยมีเงื่อนไขด้านมาตรฐานการศึกษา ประกอบด้วย ด้านสภาพแวดล้อมทางการศึกษา ด้านความเป็นครู ด้านเครือข่ายทางปัญญา และด้านผู้เรียน  2.  กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย การทบทวนความรู้ การตั้งคำถามที่หลากหลาย การสร้างการมีส่วนร่วม การเลือกวิธีการแสวงหาความรู้ และการจัดกิจกรรมกลุ่ม และระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วย การเรียนรู้แบบกำหนดสถานการณ์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้หลักเหตุผลในการหาคำตอบ การเรียนรู้จากสิ่งรอบตัว และการพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง  3. แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนในภูมิภาคตะวันตก ประกอบด้วย 3.1 ระดับนโยบาย ได้แก่ การสร้างโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียม การกำหนดนโยบายการศึกษาที่มีเสถียรภาพ การสร้างทักษะการเรียนรู้ที่หลากหลาย การประเมินผู้เรียนที่ยืดหยุ่น และการลดความซ้ำซ้อนของกลุ่มสาระวิชา  3.2 ระดับสถานศึกษา  ได้แก่ การปรับกระบวนทัศน์การจัดการศึกษา การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา การส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรเชิงบูรณาการ  การเชื่อมโยงความรู้กับชุมชน การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การจัดภาระการสอนให้เหมาะสม  และการสนับสนุนการวิจัยในชั้นเรียน 3.3 ระดับครูผู้สอน ได้แก่ การพัฒนาทักษะการคิดและทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน  การจัดการเรียนรู้เชิงระบบ การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้  และการประเมินผู้เรียนที่หลากหลาย  3.4 ระดับเครือข่ายทางการศึกษา ได้แก่ การเชื่อมโยงสถานศึกษากับหน่วยงานภายนอก และการพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้  3.5 ระดับผู้ปกครอง ได้แก่ การปรับบทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียน และการพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน


 


                   The research was aimed to develop a learning management model for student quality development in accordance with the basic educational standards among schools in western region of Thailand. Research procedure involved 1. the development of learning management model using documentary study, in-depth interview, and focus group discussion, which included key informants of 20 school administrators, teachers, and parents; 2. the development of learning activities using participatory action research, which included key informants of 36 teachers and students of  Primary school, and 23 teachers and students of Secondary; and 3. the study of guidelines for learning management by organizing a critical forum of 42 participants. Qualitative analysis used inductive conclusions.


               Research results revealed that : 1. The learning management model for student quality development contains the learning components of innovative creativity skills, ICT skills, language and communication skills, and vocational preparedness skills, with requirements on educational standards, educational environment, teacherness, intellectual network, and learners. The learning activities for student quality development for primary school contains knowledge review, diversity of questions, participation building, and knowledge inquiry selection and group activities. The Learning activities for student quality development for secondary school contains situation determinate learning, information technology using, solution logical using, learning from surroundings and continuous skill development. 3. Guidelines for learning management comprises: 3.1 policy level, i.e. creating equal educational opportunity, formulating stable policies, diversifying learning skills, conducting flexible learner evaluation, and reducing subject groups redundancy; 3.2 institutional level, i.e. changing educational management paradigm, developing educational personnel, developing integrated curriculum, linking knowledge with community, arranging learning supportive environment, assigning appropriate teaching burden, and supporting classroom research; 3.3 teacher level, i.e. developing thinking skill and self-directed learning, organizing project-based learning management, organizing system-based learning management, creating learning atmosphere, and diversifying learner evaluations; 3.4 educational network level, i.e. linking educational institution with external agencies, developing community as learning source; 3.5 parents level, i.e. changing parents’ role for learning promotion; offering comprehensive development of learners.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

Bourke, T., Ryan, M. & Ould, P. (2018). “How do teacher educators use professional standards in
their practice?.” Teaching and teacher education. 75: 83-92.
Castro, M., Expósito-Casas, E., Martín, E.L., & Lizasoain, L. (2015). “Parental involvement on
student academic achievement: A meta-analysis.” Educational research review. 14:
33-46.
Fischer, C, Fishman, B & Dede, C. (2018). “Investigating relationships between school context,
teacher professional development, teaching practices, and student achievement in
response to a nationwide science reform.” Teacher and teacher education. 72: 107-
121.
krasūang sưksāthikān. (2554). māttrathān kānsưksā naphư̄n thān . Krung Thēp. krasūang
sưksāthikān.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศีกษาธิการ
Luyten, H. & Bazo, M. (2019). “Transformational leadership, professional learning community,
teacher learning and learner centred teaching practices; Evidence on their
interrelations in Mozambican primary education.” Studies in educational evaluation.
60: 14-31.
Lynch, D. (2012). Preparing Teachers in Times of Change: teaching schools, new content and evidence. Tarragindi: Primrose Hall Publishing Group.
nop phō̜n čhanthra nam chū læ thip wan suk čhai rung Watthanā . (2561). “nǣothāng
kānphatthanā thaksa wichāchīp khō̜ng naksưksā sathāban kān ʻāchīwasưksā phāk klāng
sī phư̄a kānphatthanā sapphayākō̜n manut sū prathēt Thai 4.0.” wārasān Veridian E – Journal chabap phāsā Thai sākhā manutsayasāt sangkhommasāt læ sinlapa .
11(3). Kanyāyon - Thanwākhom.: 767-786.
นพพร จันทรนำชู และทิพย์วรรณ สุขใจรุ่งวัฒนา. (2561). “แนวทางการพัฒนาทักษะวิชาชีพของนักศึกษา
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ประเทศไทย 4.0. วารสาร
Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11(3). กันยายน- ธันวาคม.: 767-786.
Ogbuanya, C.T. & Chukwuedo, S.O. (2017). “Career-training mentorship intervention via the Dreyfus model: Implication for career behaviors and practical skills acquisition in vocational electronic technology.” Journal of vocational behavior. 103: 88-105.
Ramírez-Correa, P.E., Rondan-Cataluña, F.J. & Arenas-Gaitán, J. (2017). “Moderating effect of
learning styles on a learning management system’s success.” Telematics and
Informatics. 34: 272-286.
Richardson, C. & Mishra, P. (2018). “Learning environments that support student creativity:
Developing the SCALE.” Thinking skills and creativity. 27: 45-54.
Stoll, L., Bolam, R., MaMahon, A. Wallace, M., & Thomas, S. (2006). “Professional learning
communities: A review of the literature.” Journal of educational change. (7): 221-258.
The Partnership for 21st century learning (2017). Framework for 21st Century
Learning. Retrieved 20 May 2017, from, https://www.p21.org/our-work/p21-
framework.
Todd, D. and Melissa, L.G. (2007). “Advancing the case for creativity through graduate business education.” Thinking skills and creativity. 2: 85-95.
Valtonen, T., Kukkonen, J., Sormunen, K. & Dillon, P. (2015). “The impact of authentic
learning experiences with ICT for teachering and learning.” Computer &
education. 81: 49-58.