เรื่องราวและการแสดงออก (Subject and Representation)

Main Article Content

วรรณวิภา สุเนต์ตา (Vanvipha Suneta)

Abstract

              บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเพื่อจัดทำตำราเรื่อง “ศิลปะตะวันตก : จากอารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์ถึงหลังสมัยใหม่” ซึ่งเรียบเรียงเนื้อหาด้านประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกตั้งแต่อารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ตามลำดับ โดยทั่วไปแล้วการศึกษาศิลปะตะวันตกมักศึกษาเรื่องราวและความหมายที่ปรากฏในงานศิลปะ ตลอดจนการสร้างสรรค์หรือการแสดงออกที่ศิลปินถ่ายทอด            ด้วยทักษะฝีมือ รูปแบบ หรือกระบวนการทางศิลปะที่สะท้อนแนวคิดและอุดมคติของสังคมในแต่ละยุคสมัย


               ประเด็นน่าสนใจซึ่งจะกล่าวถึงในบทความนี้คือ ความหมายของศิลปะจากการศึกษาเรื่องราวและการแสดงออกด้วยภาพ (Visual Narrative) ซึ่งเป็นแบบแผนที่ยึดถือมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ เนื่องจากมนุษย์มีความเชื่อมาเป็นเวลายาวนานว่าศิลปะคือภาพสะท้อนของธรรมชาติและความเป็นจริง จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและการแสดงออกในงานศิลปะสมัยใหม่ที่ริเริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อันเป็นจุดเริ่มของการค้นหาปรัชญาและทฤษฎีในศิลปะนอกเหนือจากการถ่ายทอดความเป็นจริงเพื่อความสุนทรี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อท้าทายกฏเกณฑ์ของอดีต ทั้งด้วยการทำลายความเป็นเรื่องเล่า ตลอดจนนำเสนอความไม่ชัดเจนของรูปทรงและเนื้อหาที่อธิบายด้วยแถลงการณ์ทางศิลปะตามแนวความคิดของศิลปิน


               ศิลปะในแง่มุมใหม่สามารถสร้างความหมายให้เกิดขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องเป็นภาพเหมือนหรือภาพสะท้อนของสิ่งใด ศิลปะสามารถแสดงความคิดนอกเหนือจากสิ่งที่ตามองเห็น เริ่มจากการละทิ้งรูปร่างรูปทรงของวัตถุโดยการบิดเบือนมุมมองทางสายตาผ่านกระบวนการซ้อนทับตัดแปะในแบบคิวบิสซึ่ม (Cubism) และพัฒนาไปสู่ศิลปะนามธรรม (Non-Objective Art) ศิลปินต่างทดลองค้นหากระบวนการทางศิลปะเพื่อแสดงออกซึ่งความงามและความหมายบางอย่าง ประกอบกับสภาพแวดล้อมของมนุษย์ถูกลดทอนลงให้เป็นสิ่งธรรมดาสามัญ ไม่เน้นความโดดเด่นสำคัญทางประวัติศาสตร์หรือพลังศรัทธาในศาสนา ศิลปะจึงถูกลดทอนลงเพียงรูปทรงเรขาคณิตที่สื่อสารเชิงสัญลักษณ์ อันเป็นวิถีที่เชื่อมโยงแนวคิดของศิลปะแบบใหม่ ดังเช่นผลงานของกลุ่มเดอสไตล์ (De Stijl) ในประเทศเนเธอแลนด์ และคอนสตรัคติวิซึ่ม (Constructivism) ในรัสเซีย


               ศิลปะสมัยใหม่และการสืบเนื่องสู่หลังสมัยใหม่ในเวลาต่อมา ได้หลอมรวมอิทธิพลวัฒนธรรมการบริโภค โฆษณาและสื่อสารมวลชน เรื่องราวและการแสดงออกในศิลปะถูกนำเสนอผ่านความสอดคล้องแต่ทว่าขัดแย้ง ศิลปินก้าวข้ามความเป็นตัวตนในผลงานแต่คาดหวังการตอบรับจากสังคมในหลายแง่มุม ส่งผลให้ศิลปะในศตวรรษที่ 21 สะท้อนความหลากหลายของปัจจุบันอันมีแนวความคิดเป็นสาระสำคัญ ด้วยเนื้อหาและพื้นที่ของศิลปะซึ่งปราศจากข้อจำกัดอีกต่อไป


 


               This article is part of research in western art history from the period of prehistoric civilization to postmodern culture. Generally, study in western art is focus on the subject and its meaning as well as creativity and skills that artists portray their aspect of ideas on art throughout the history.


               The idea mentions in this paper is the meaning of art as visual narrative, which is the rule of western art for centuries. Until the avant-guard artists of the 19th century experiment art with forms and its representation, that mark the beginnings of new approach in art by questioning the traditional value to visible reality and set the new goal for art.


               The fresh approach makes art communicates without images or familiar forms, therefore, the ambiguity of shape and content is described by artist’s statement. Art becomes abstract by destroy its natural form and recompose with radical technique of superimposition and collage to create Cubism form. Non-Objective Art is experimented by many artists until the pure abstraction becomes geometry of sign, which explored by DeStijl of The Netherland and The Russian Constructivism.


               The artistic development of modern and the successor of postmodern, however reflects culture and social context in which consumption and mass media play an important role. Subject and representation in postmodern art is harmony and yet contradict. Postmodern artists destroy their identity in art, but still expect social response. As a result of postmodern culture, the art of 21st century reflect today’s diversity, which content and space for art has no restrictions.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ