พัฒนาการการสร้างสัตว์พิมพานต์สมัยรัตนโกสินทร์ (A development on the creativity of himmapan's animals, Rattanakosin period)

Main Article Content

นฤมล ศิลปชัยศรี (Narumol Silpachaisri)
สุชา ศิลปชัยศรี (Sucha Silpachaisri)
ปรีดี พิศภูมิวิถี (Predee Phisphumvidhi)

Abstract

      วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวรรณกรรมเรื่องไตรภูมิ และคัมภีร์ที่มีเนื้อหากล่าวถึงสัตว์หิมพานต์ เพื่อศึกษารูปแบบของสัตว์หิมพานต์ในสมัยรัตนโกสินทร์ และเพื่อศึกษาบริบททางสังคมที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์รูปแบบของสัตว์หิมพานต์ในสมัยรัตนโกสินทร์แล้วนำหลักฐานทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์


       ผลการวิจัยพบว่า


  1. วรรณกรรมเรื่องไตรภูมิส่งอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะโดยแสดงชัดเจนในสมัยอยุธยาสืบต่อมายังปัจจุบัน

  2. ด้านรูปแบบพบว่าสัตว์หิมพานต์มีหลากหลายมากยิ่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 และกลายเป็นต้นแบบต่อการสร้างสรรค์ในปัจจุบัน

  3. การศึกษาบริบททางสังคมที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์สามารถจัดเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

                    กลุ่ม 1 สร้างขึ้นเพื่อสืบทอดความเชื่อตามคัมภีร์ศาสนา


                    กลุ่ม  2  สร้างขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ในงานพระเมรุมาศและเริ่มมีความพิเศษและหลากหลายตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์  


                    กลุ่ม 3 เป็นการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างอิสระโดยอาศัยความงามทางองค์ประกอบศิลปะเป็นสำคัญ สรุปได้ว่า พัฒนาการการสร้างสัตว์หิมพานต์สมัยรัตนโกสินทร์นี้สืบต่อทั้งด้านคติและรูปแบบมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และมีการออกแบบให้มีความแปลกตามากยิ่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 9


 


       This dissertation aims at studying  the Traiphum, in order to examine various designs of Himmapan creatures created during the Rattanakosin era. This paper also analysed historical facts about the artworks about Himmapan creatures.


  1. The analysis led to the conclusion that the Traiphum literary work had clearly made a strong impact on artistic creations noticeably from the Ayutthaya period and had continued to do so until the present day.

  2. It is found that more designs of Himmapan creatures had emerged during the reign of King Rama III and become the blueprints for modern creations.

  3. Himmapan creatures can be categorized into three groups based on artistically influential social contexts. The first group was created to pass on beliefs based on religious manuscripts. The second group consists of Himmapan creatures art pieces created for the purpose of decorating the Royal Crematorium, whose design had become more varied and begun to exhibit unique traits from the Rattanakosin period onwards. The third group of Himmapan creature artworks was freely created with the elements of arts being the focus. It is concluded that the artworks of Himmapan creatures during the Rattanakosin period inherited the concepts and the designs from those of the Ayutthaya era, and had developed into the more exotic forms in the reign of King Rama IX.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ