การศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สถิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (Study of Mathematical Analytical Thinking Ability and Learning Achievement Statistics Among Ninth Grade Students Through the Inquiry Cycle Learning Management)

Main Article Content

กันตพร ขาวแพร (Kantaporn Khaoprae)
ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี (Chommanad Cheausuwantavee)

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สถิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ กับเกณฑ์ ร้อยละ 70


               กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร ปีการศึกษา 2561  จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 41 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม (Sampling Unit)


               เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 2) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC: Index of Objective Congruence) ตั้งแต่ 0.67 – 1.00 มีค่าความยากง่ายรายข้อตั้งแต่ 0.52 – 0.57 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.37 – 0.44 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.89 และ 3) แบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC: Index of Objective Congruence) ตั้งแต่ 0.67 – 1.00 มีค่าความยากง่ายรายข้อตั้งแต่ 0.23 – 0.78 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.20 – 0.65 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.61 ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 16 คาบเรียน ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One – Group Pretest – Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test)


               ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 31.56 คิดเป็นร้อยละ 78.90

  3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่
    ระดับ .05

  4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 14.90 คิดเป็นร้อยละ 74.50

 


               The purpose of this research is to compare the mathematical analytical thinking ability and learning achievement in the statistics of ninth grade students through inquiry cycle learning management. The subjects of this study consisted of forty one students at Mabtaputpanpittayakarn School. They were randomly selected using cluster random sampling.


               The instruments included a lesson plan; statistics for Inquiry Cycle Learning Management, mathematical analytical thinking ability measurement.The index of objective congruence are 0.67 – 1.00, the difficulty index are 0.52 – 0.57, the discriminant Index are
0.37 – 0.44, and the reliability is 0.89 and a mathematics test. The index of objective congruence are 0.67 – 1.00, the difficulty index are 0.23 – 0.78, the discriminant Index are 0.20 – 0.65, and the reliability is 0.61. The experiment lasted for sixteen periods. The One-Group Pretest-Posttest Design was used in the study. The data were statistically analyzed using mean, standard deviation and a t-test for dependent samples and a t-test for one sample.


               The results of this research were as follows:


               1) the mathematical analytical thinking ability identified by the statistics of ninth grade students after the inquiry cycle learning management was statistically higher than before learning at a .05 level of significance.


               2) the mathematical analytical thinking ability on statistics among ninth grade students after the inquiry cycle learning management was higher than the 70 percent criterion at a .05 level of significance. The mean score was 31.56 as 78.90%.


               3) mathematical achievement in the statistics of ninth grade students after the inquiry cycle learning management was statistically higher than before learning at a .05 level of significance.


               4) the learning achievement on statistics among ninth grade students after the inquiry cycle learning management was statistically higher than the 70 percent criterion at an .05 level of significance. The mean score was 14.90 as 74.50%.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

ภาษาไทย

Khanat Thattong. (2011). sō̜n khit : kānčhatkān rīanrū phư̄a phatthanākān khit [Teaching Thinking: Learning management for thinking development].(1st edition). Bangkok: Chulalongkorn University Book Center Distributor.
ฆนัท ธาตุทอง. (2554). สอนคิด : การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 1.). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้จัดจำหน่าย.
Chuthamas Nunui. (2018). phonkānchai kānčhatkān rīanrū bǣp wattačhak kān rīanrū čhet khan thī mī tō̜ phon samrit thāngkān rīan læ khwām fai rīanrū wichā sangkhommasưksā khō̜ng nakrīan radap chan matthayommasưksā pī thī hā [The Effects of the 7E Learning Cycle on Academic Achievement and the Desire to Learn Social Studies by Matthayom Sueksa Five Students], 11(3), 491-505. Veridian E-Journal, Slipakorn University.
จุฑามาศ หนูนุ้ย. (2561). ผลการใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความใฝ่เรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5, 11(3), 491-505. (The -). Veridian e-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ และฉบับ International Humanities, Social Sciences and arts.
Chommanad Cheausuwantavee. (2018). kān rīan kānsō̜n khanittasāt [Mathematics Instruction]. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2561). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ Mathematics Instruction. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Chommanad Cheausuwantavee. (2018). phonkānchai rūpbǣp kānphatthanā wichāchīp bǣp dūlǣ hai kham prưksā ( AT % PSM Mentoring Model sī A Model ) phư̄a phatthanā khwāmsāmāt nai kānčhatkān rīanrū khō̜ng nisit fưk prasopkān wichāchīp khrū thī songsœ̄m khwāmsāmāt nai kān khit wikhro̜ panhā thāng khanittasāt khō̜ng nakrīan chan matthayommasưksā pī thī sī [The Effects Of Using At_Psm Mentoring Model– 4A Model: Professional Development Model To Improve Learning Management Ability For Field Experience Student Teachers That Enhances Analytical Thinking Ability Of Tenth Grade Students], 11(2), 285-301. Veridian E-Journal, Slipakorn University.
ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2561). ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพแบบดูแลให้คำปรึกษา (AT_PSM Mentoring Model – 4A Model) เพื่อพัฒนาความสามารถ ในการจัดการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่ส่งเสริมความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (The -), 11(2), 285-301. Veridian e-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ และฉบับ International Humanities, Social Sciences and arts.
Thitsana Khammanee. (2018). sāt kānsō̜n : ʻongkhwāmrū phư̄a kānčhat krabūankān rīanrū thī mī prasitthiphāp [Teaching Science: Knowledge for effective learning process management]. (21st edition).Bangkok: Chulalongkorn University Press.
ทิศนา แขมมนี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21.). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Nawatant Athiwat. (2016). phon khō̜ng kānčhat kitčhakam kān rīanrū bǣp sư̄pso̜ hākhwām rū hā khan ( hā Es ) thī mī tō̜ thaksa kān chư̄am yōng læ phon samrit thāngkān rīan khanittasāt rư̄ang khwām nā čha pen khō̜ng nakrīan chan matthayommasưksā pī thī hā [The effects of inquiry cycle (5Es) learning activities on mathematical connection skill and achievement in probability of mathayomsuksa 5 students], 9(1), 829-844. Veridian E-Journal, Slipakorn University.
นาวารัตน์ อธิวัฒน์. (2559). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ที่มีต่อทักษะการเชื่อมโยง และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5, 9(1), 829-844. (The -). Veridian e-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ และฉบับ International Humanities, Social Sciences and arts.
Praphansiri Susaorat. (2013). kānphatthanā kān khit [Development of thinking]. (5th edition). Bangkok: Chulalongkorn University Book Center Distributor.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้จัดจำหน่าย.
Prasat Nuangchaloem. (2015). kān rīanrū witthayāsāt nai satawat thī yīsipʻet [Learning science in the 21st century]. (1st edition). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 1.). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Pimpan Dachakupt. (2011). Kānrīankānsō̜nthīnēnphūrīanpensamkhan : Nǣokhit Withī læ thēknik kānsō̜n [Teaching and learning that emphasizes learners: concepts, methods and teaching techniques]. Bangkok: Institute of academic development (IAD.).
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิด วิธีและเทคนิคการสอน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).
Phop Laohaphaiboon. (2001). nǣo kānsō̜n witthayāsāt [Science teaching]. (3rd edition). Bangkok: Thai Watana Panich.
ภพ เลาหไพบูลย์. (2542). แนวการสอนวิทยาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
Wetcharit Anganasaphatkhachorn. (2012). khrop khrư̄ang rư̄ang khūan rū samrap khrū
khanittasāt [Complete machine, should know for math teachers]. Chonburi: Department of Learning Management Faculty of Education Burapa university.
เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2555). ครบเครื่องเรื่องควรรู้สำหรับครูคณิตศาสตร์. ชลบุรี: ภาควิชาการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Sirichai Kanchanawasee. (2009). thritsadī kānthotsō̜p bǣp dangdœ̄m [Traditional test theory]. (6th edition). Bangkok: Chulalongkorn University.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
National Institute of Educational Testing Service. (2018). rāingān phonlakā rot da sō̜p thāngkān sưksā radap chāt khan phư̄nthān ( O - NET ) chan matthayommasưksā pī thī sām
pīkānsưksā 2560 [Report of the national basic education test (O-NET), grade 3, academic year 2017]. Retrieved on 20 April 2018 from https://mppwatpol.wordpress.com/2018/03/26/โอเน็ต-ม-3-ปี-2560-มพพ/
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2561). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560. Retrieved Retrieved on 20 เมษายน 2561 from https://mppwatpol.wordpress.com/2018/03/26/โอเน็ต-ม-3-ปี-2560-มพพ/
Sawai Fakkhao. (1999). kānčhatkān rīan kānsō̜n thī nēn phū rīan pen sūnklāng [Teaching-centered learning management]. Bangkok: Emphan.
ไสว ฟักขาว. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: เอมพันธ์.
Office of the Basic Education Commission. (2009). laksūt kǣn klāng kānsưksā naphư̄n thān Phutthasakkarāt sō̜ngphanhārō̜ihāsipʻet [Basic Education Core Curriculum, 2008].
(1st edition). Bangkok: office.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 1.). กรุงเทพฯ: สำนักงาน.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2011). phǣn phatthanā sētthakit læ sangkhom hǣng chāt chabap thī sip ʻet (Phō̜.Sō̜. sō̜ngphanhārō̜ihāsiphā - sō̜ngphanhārō̜ihāsipkāo) [National Economic and Social Development Plan Eleventh edition (2012-2016)]. Bangkok: office.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักงาน.
--------. (2017). phǣn phatthanā sētthakit læ sangkhom hǣng chāt chabap thī sip sō̜ng ( Phō̜.Sō̜. sō̜ngphanhārō̜ihoksip - sō̜ngphanhārō̜ihoksipsī ) [National Economic and Social Development Plan Twelfth edition (2017-2021)]. Bangkok: office.
--------. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงาน.
Amporn Maokanong. (2011). thaksa læ krabūankān thāng khanittasāt : kānphatthanā phư̄a phatthanākān [Mathematics and processes: development for development].
(2nd edition). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
อัมพร ม้าคนอง. (2554). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


ภาษาต่างประเทศ
Bloom Benjamin Samuel. (1964). Taxonomy of educational objectives : the classification of educational goals. New York: David Mckey.
Carin Arthur A. (1993). Teaching science through discovery (7th edition). New York: Merrill.