“บทวิเคราะห์ผลงานศิลปะ เร็ว แรง เกิ้น และทองเนื้อเก้า ของนาย ธีรพล หอสง่า” (Art Review “Too Fast Too Furious and Golden Bike” by Teerapon Hosanga)

Main Article Content

ธีรพล หอสง่า (Teerapon Hosanga)

Abstract

               บทวิเคราะห์ผลงานศิลปะชื่อ เร็ว แรง เกิ้น และทองเนื้อเก้า เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง "ประติมากรรมสื่อใหม่ : รูปแบบและรสนิยมในศิลปะยกล้อ" โดยวิทยานิพนธ์มีวัตถุประสงค์ของวิจัย 3 ข้อดังนี้  1. ศึกษาแนวคิดและกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ผ่านรสนิยมและรูปแบบที่ปรากฏบนรถมอเตอร์ไซค์ช้อปเปอร์แบบไทย 2. สำรวจรูปแบบของการสร้างสรรค์ที่ปรากฏเป็นรูปลักษณ์ของยานพาหนะในวัฒนธรรมช้อปเปอร์ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างอัตลักษณ์เชิงปัจเจกและอัตลักษณ์เชิงกลุ่ม 3. สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมที่ผู้ชมสามารถสวมอัตลักษณ์แบบวัฒนธรรมช้อปเปอร์ ด้วยรูปแบบการตกแต่งดัดแปลง และรสนิยมสมัยนิยมที่ห่อหุ้มปรากฏการณ์ที่ศึกษา (มอเตอร์ไซค์) มานำเสนอโดยขยายให้ล้นเกินและเด่นชัดด้วยผลงานประติมากรรม


               ผลงานประติมากรรมในงานวิทยานิพนธ์นี้ เป็นผลจากการรวบรวมข้อมูล การเก็บข้อมูลภาคสนามผ่านการสัมภาษณ์ การสังเกต และกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล เพื่อสร้างสรรค์เป็นผลงานประติมากรรมทั้งหมด 4 ชิ้นโดยแบ่งพัฒนาการของผลงานออกเป็นสองช่วง ผลงานช่วงแรกคือผลงานสามชิ้นประกอบด้วย คิงส์คะนองนา เร็วแรงเกิ้น และนักสู้ตลาดสด ผู้วิจัยใช้ผลการวิเคราะห์ผลงานประติมากรรม และผลที่ได้จากการนำเสนอผลงานในนิทรรศการมาพัฒนาเป็นผลงานช่วงที่สอง เป็นผลงานประติมากรรมชิ้นที่ 4 ในงานงานวิทยานิพนธ์เพื่อให้ผลงานชิ้นที่ 4 ชื่อทองเนื้อเก้าตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้สมบูรณ์ที่สุด


               ผลงานประติมากรรมที่นำมาวิเคราะห์ในบทความนี้ ประกอบด้วยผลงานชื่อ เร็ว แรง เกิ้น ซึ่งมาจากการวิจัยสร้างสรรค์ในระยะแรก กับผลงานชื่อ ทองเนื้อเก้า ซึ่งเป็นผลงานวิจัยสร้างสรรค์ชิ้นสุดท้ายที่ใช้ข้อสรุปจากการวิเคราะห์ผลงานในสามชิ้นก่อนหน้า มาพัฒนาให้กลายเป็นผลงานประติมากรรมที่นำเสนอประเด็นการครอบครองอัตลักษณ์แบบช้อปเปอร์ในวัฒนธรรม ช้อปเปอร์แบบไทยให้ชัดเจนที่สุดตามเป้าหมายที่ตั้งไว้


 


                  An article analyzing two artworks – ‘Too Fast Too Furious’ and ‘Golden Bike’ – is part of a PhD Thesis entitled “New Media Sculpture: Style and Taste of Wheelie Art”. The thesis objectives include 1) To study concepts and procedures of identity creation through style and taste that appear on Thai styled Chopper motorcycle 2) To survey style of creation that appears on vehicles in Chopper culture, which play an important role in creating individual and group identities 3) To creat new media sculptures that allow audiences to embrace the identity based on Chopper culture through the styleand taste of Chopper decoration and phenomenon.  The sculptures are presented in a manner of being exaggerated and overemphasized.


               Four sculptures of this thesis are a result of data collection, fieldworks, interviews, observations, analyzing and synthesizing processes.  The development of the sculptures can be divided into two periods. Period one: three sculptures are created; they include ‘King Kanongna’, ‘Too Fast Too Furious’, and ‘Transporter’. The analysis of the three works contributes to sculpture developed during Period Two, which can be investigated from the final piece entitled ‘Golden Bike’. This piece fully responds to the objectives.


               The two sculptures presented in this article include ‘Too Fast Too Furious’ from period one and ‘Golden Bike’, in period two, resulted from the analytical conclusion of the first three pieces of sculpture. The final sculpture presents the issue focusing on the embrace of Chopper identity in Thai style Chopper culture.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ