การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางลดต้นทุนความสูญเปล่าของโรงสีเปี่ยมทรัพย์ถาวร (1994) อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี (A Study of Problems and Cost Wastes Elimination of Rice Mill Piamsubthaworn (1994), Bang Rachan District, Sing Buri Province )

Main Article Content

พิชญ์กสินี นนท์กาญจนจินดา (Pitkasinee Nonkarnjanajinda)

Abstract

               การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต และเสนอแนวทางการลดต้นทุนความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น กรณีศึกษาโรงสีเปี่ยมทรัพย์ถาวร (1994) โดยอาศัยเครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกในการรวบรวมข้อมูลกับผู้ประกอบการและตัวแทนผู้ปฏิบัติงานของโรงสีเปี่ยมทรัพย์ถาวร (1994) จำนวนรวม 8 คน เกี่ยวกับสภาพและปัญหาในการดำเนินงาน ต้นทุนการผลิตข้าว ความสูญเปล่าภายในกระบวนการผลิตข้าว และร่วมกันหาแนวทางเพื่อการลดต้นทุนความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น


               ผลการวิจัยพบว่า โรงสีเปี่ยมทรัพย์ถาวร (1994) ซึ่งเป็นโรงสีขนาดใหญ่มีศักยภาพในการผลิตข้าวต่อวัน 1,500 ตัน/วัน มีแรงงานในระบบการผลิตจำนวน 96 คน ภายใต้การผลิตด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย บริหารจัดการโดยคุณสนั่น ฉิมพันธ์ และคุณเลียม ฉิมพันธ์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2537 ซึ่งจากการศึกษาพบว่ามีความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นดังนี้ 1) กระบวนการสีข้าวส่งผลให้ได้ข้าวมีเปอร์เซนต์ต่ำกว่ามาตรฐาน 2) การตกหล่นของเมล็ดข้าวสารจากจุดปลายของสายพานลำเรียง โดยมีปริมาณข้าวสารประมาณ 0.4-0.5 กิโลกรัมต่อวัน 3) การโหลดข้าวสารขึ้นรถบรรทุกข้าวที่เข้ามารับข้าว ณ จุดโหลดข้าวต้องวิ่งเข้าออกจากจุดที่โหลดไปยังเครื่องชั่ง แล้วกลับมาที่จุดโหลดอีกครั้งเป็นจำนวนประมาณ 5-6 รอบต่อคัน ดังนั้นการโหลดข้าวจึงทำให้รถบรรทุกต้องวิ่งเข้าวิ่งออกไปชั่งน้ำหนักหลายรอบ และ 4) กระบวนการขนส่งข้าวหลังจากสีข้าว เนื่องจากมีปริมาณการผลิตข้าวมากทุกวัน ทำให้รถที่จะขนส่งข้าวไม่เพียงพอต่อการขนส่งแต่ละวัน จึงทำให้เกิดการรอคอยนานในการขนส่งข้าว


               แนวทางการลดต้นทุนความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นจากกรณีศึกษาโรงสีเปี่ยมทรัพย์ถาวร (1994) มีดังนี้ 1) เลือกใช้ประเภทและขนาดของเครื่องจักรในการสีข้าวให้เหมาะสมกับงาน เพื่อลดปริมาณข้าวที่เสียหายลง และเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการสีข้าว 2) การตกหล่นของเมล็ดข้าวสารจากจุดปลายของสายพานลำเรียง ควรนำผ้าใบมากั้นให้สูงขึ้นหรือใช้ผ้าปูพื้นข้างล่างเพื่อรองรับข้าวที่กระเด็นออกจากระบบการผลิต เพื่อลดแรงงานคนในการเก็บกวาด 3) คำนวณหาช่วงเวลาในการโหลดข้าว เช่น 1 ตันใช้เวลาโหลดกี่นาที แล้วให้คนงานทำหน้าที่โหลดข้าวคอยควบคุมเวลาตามที่กำหนด เพื่อลดความผิดพลาดจากการโหลดข้าวและส่งผลให้รถบรรทุกไม่ต้องวิ่งเข้าออกหลายครั้งในการโหลดข้าวและไปชั่งน้ำหนัก ลดความสูญเปล่าในการเคลื่อนย้ายที่ไม่จำเป็นและลดต้นทุนในการเคลื่อนย้ายด้วย และ 4) วางแผนระบบการผลิตให้สอดคล้องกับการใช้รถขนส่ง เพราะเมื่อสีข้าวแล้วไม่มีรถขนส่งก็จะเกิดการรอคอยรถนาน ฉะนั้นควรวางแผนในเรื่องของเวลาการผลิต และจัดตารางเวลารถขนส่งข้าวให้พอดีกัน


 


               This research aims to study the problem of waste in the production process. And propose solutions to reduce cost. The research sample was Piamsubthaworn (1994). The instruments used in this study were interviews with entrepreneurs.


               The research found that A large mill has a capacity of producing 1,500 tonnes per day. There are 96 production workers under modern machinery. Managed by Khun Sanan Chimpan and Khun Liam Chimpan. Founded on October 28, 1994. The study found that there is no waste as follows: 1) Rice coloring process 2) Rice seeds splash out of the belt at the end of the conveyor belt. with a rice quantity of 0.4-0.5 kilograms per day. 3) At the rice loading point. The rice picker at the loading point needs to run from the loading point to the weighing platform. Then return to the loading point of rice again about 5-6 times per cycle. so the truck ran to run out, weighing several rounds. and 4) The process of transporting rice after rice. The rice is produced every day. Make the car to transport rice is not enough to transport each day. This causes a long wait for rice to be transported.


               Guidelines for problem solving and cost reduction from the case study are as follows: 1) And the size of the machine to suit the job. To reduce the amount of rice damaged. 2) The mills should bring the canvas higher. Or use the floor cloth below to support the rice splash out each time the rice. To reduce labor without having to keep workers sweeping. 3) Find the time to load the rice. Then the workers load the rice to control the time required to load the rice. In order to gain weight in rice. Without the truck running out several times to load the rice and go to each weigh. Reduce unnecessary waste and reduce transportation costs; and 4) Plan the production system in accordance with the use of transportation vehicles. When the rice is no longer transport vehicles will be waiting for the car for a long time. Should be planned in terms of production time. And the time to transport the rice to fit.


 


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ