การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยววิถีถิ่น วิถีไทยเพื่อสร้างอัตลักษณ์ใหม่ของเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองร้อยเกาะ (The Model Development Of Tourism Management Local To Create A New Identity Of The Tourism Of Mueang Roikoh)

Main Article Content

สุนิษา กลิ่นขจร (Sunisa klinkhajorn)
ทิพย์วรรณ สุขใจรุ่งวัฒนา (Tippawan sukjairungwattana)

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินการของการการจัดการท่องเที่ยววิถีถิ่น วิถีไทยเพื่อสร้างอัตลักษณ์ใหม่ของเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองร้อยเกาะ ศึกษาวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศของการจัดการท่องเที่ยววิถีถิ่น วิถีไทยเพื่อสร้างอัตลักษณ์ใหม่ของเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองร้อยเกาะ และพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยววิถีถิ่นวิถีไทยเพื่อสร้างอัตลักษณ์ใหม่ของเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองร้อยเกาะ ซึ่งใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) ระหว่างวิจัยเชิงปริมาณ (Quality Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเป็นการวิจัยในลักษณะของพหุเทศกรณี (Multisite Multi-case)


               ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการมีความคิดเห็นต่อการจัดการท่องเที่ยว ด้านการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ในการส่งเสริมและพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยว มีพฤติกรรรมการให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของแหล่งท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อการจัดการท่องเที่ยว ด้านการจัดกิจกรรมให้มีกิจกรรมที่หลากหลาย มีพฤติกรรมได้แสดงความคิดเห็นหรือให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว และประชาชนในพื้นที่มีความคิดเห็นต่อการจัดการท่องเที่ยวด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยว มีพฤติกรรมเรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมากจากการมีแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน สำหรับวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศของการการจัดการท่องเที่ยววิถีถิ่น วิถีไทย ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงานการท่องเที่ยว 2) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ 3) การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ 4) การบริหารจัดการของชุมชน 5) การปฏิบัติให้เห็นเป็นตัวอย่าง “การพูดให้ฟัง ทำให้เห็น” สำหรับรูปแบบการจัดการท่องเที่ยววิถีถิ่น วิถีไทย โดยเรียกรูปแบบนี้ว่า  “ SLOW LIFE MODEL” ซึ่งเป็นรูปแบบที่ผ่านการประเมินและรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ


 


              This research aims to study the working conditions of local tourism management, and Thai way to create a new identity of the tourist route of MUEANG ROIKOH, and to study how best practices of local tourism management and Thai way to create a new identity of the tourist route of MUEANG ROIKOH. Mixed methodology was used in quantitative research and qualitative research (multisite multi-case studies).


               The results showed that entrepreneurs had opinions on tourism management towards participation in various opinions to promote and develop tourism management models. They had behavioral collaboration in activities of tourism. Tourists had opinions on tourism management to have various activities. They behaved or commented on the development and improvement of tourist attraction. And people in the area had opinions on tourism management, participated in decision making and carried on the management of tourism. They had behavioral conservation of natural resources and environment due to the tourist attractions in the community. For the best practices of local tourism management and Thai way were the followings: 1) community participation in tourism operations 2) community participation in ecological conservation 3) participation in management 4) community management 5) practice as an example “Speaking for listening and practicing for seeing”.            


                The management models of local tourism and Thai way may be called the "SLOW LIFE MODEL". This is a form that has been evaluated and certified by qualified persons.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ