ไตรภูมิล้านนา ศิลปะการจัดวางภายใน วิหารพระเจ้าหมื่นองค์ จังหวัดเชียงราย (Trai-Bhumi Lanna: Interior Installation Art at Prajao Maun Maung Cahapel, Chiang Rai)

Main Article Content

ดอยธิเบศร์ ดัชนี (Doytibet Duchanee)
ปรีชา เถาทอง (Preecha Thoathong)
อิทธพล ตั้งโฉลก (Ithipol Thangchalok)
สุธี คุณาวิชยานนท์ (Sutee Kunavichayanont)

Abstract

              โครงการสร้างสรรค์ ไตรภูมิล้านนา ศิลปะการจัดวางภายใน วิหารพระเจ้าหมื่นองค์ จังหวัดเชียงราย เป็นการสร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนความเป็นล้านนาร่วมสมัย และสะท้อนปัจเจกภาพเฉพาะตน จากความประทับใจในศิลปะวัฒนธรรมของล้านนา  ในเรื่องของไตรภูมิที่ถูกออกแบบไว้ในสัตตภัณฑ์ หรือเชิงเทียน เครื่องบูชาที่พบเห็นได้เฉพาะในล้านนา ที่เป็นการออกแบบผสมผสานความหมายเชิงสัญลักษณ์ในเรื่องไตรภูมิ ผ่านออกมาในสัตตภัณฑ์แต่ละชิ้นงาน ด้วยเทคนิคเฉพาะและหลากหลายวิธีการของแต่ละสกุลช่าง ที่มีความเรียบง่าย จริงตรง และบริสุทธ์ของล้านนา ผู้วิจัยจึงเกิดความประทับใจและนำเอาสัตตภัณฑ์มาเป็นจุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจในการออกแบบภายในของวิหารพระเจ้าหมื่นองค์ จากบทสรุปรวบยอดเรื่องไตรภูมิที่สร้างเป็นเชิงเทียนหน้าพระประธาน จนกลายมาเป็นผลงานการออกแบบสร้างสรรค์ และระดมสรรพวิทยาการของผู้วิจัยทั้งหมด นำมาถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานที่เรียกว่า “ศิลปะการจัดวางภายใน” หรือ Interior installation art ตามคำศัพท์ที่เฉพาะท่านศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ ได้กรุณาคิดค้นไว้ให้ ณ วิหารพระเจ้าหมื่นองค์ จังหวัดเชียงราย ซึ่งผู้วิจัยได้นำมาใช้เป็นชื่อของวิทยานิพนธ์นี้ โดยนับว่าเป็นการสร้างสรรค์ครั้งใหม่ ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในงานศิลปะการจัดวาง


               ความเข้าใจในพัฒนาการของการจำลองศูนย์กลางจักรวาล ที่ถูกคลี่คลายมาจากการจัดองค์ประกอบของสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ภายในปราสาทของขอม ที่มีแผนผังสัมพันธ์อยู่กับระเบียบของจักรวาลตามปรัมปราคติ เปลี่ยนแปลงมาเป็นการเขียนรูปจิตรกรรมภายในอาคารหลังคาคลุมของศิลปะไทยประเพณีนั้น ทำให้ผู้วิจัยมีความคิดริเริ่มที่จะนำศิลปะการจัดวาง (เช่นเดียวกับการจัดวางสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ลงไปในแผนผังของปราสาทขอม) มาใช้เพื่อสร้างสรรค์ในการออกแบบศิลปะการจัดวางภายใน วิหารพระเจ้าหมื่นองค์ โดยผู้วิจัยได้เลือกที่จะใช้ “สัตตภัณฑ์” หรือ เชิงเทียน เครื่องสักการะบูชาทางศาสนาของทางล้านนามานำเสนอ เนื่องจากมีความสัมพันธ์ทั้งในแง่ของคติการสร้าง ความเกี่ยวโยงกับวัฒนธรรมในพื้นที่ ทั้งรูปแบบและเนื้อหา เทคนิคเฉพาะของแต่ละสกุลช่างที่แตกต่างและน่าสนใจ รวมไปถึงการสร้างความหมายใหม่ให้กับตัวของวัตถุเองในที่สุด ตลอดระยะเวลาในการปฏิบัติงานนั้นทำให้ผู้วิจัย เกิดองค์ความรู้ที่ลึกซึ้งและมีความเข้าใจเพียงพอที่จะทำให้ผู้วิจัย กล้าตัดสินใจที่จะลดและละอัตตาของตนเอง และนั่นเองคือจุดก้าวกระโดดของผู้วิจัย เป็นผลที่ได้รับมาจากฝึกฝน ทดลอง ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาผลงานอย่างต่อเนื่อง และทำความเข้าใจกับกระบวนการทำงานในทุกๆส่วน จนเกิดเป็นผลงานการสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่ ในรูปแบบของ ไตรภูมิล้านนา ศิลปะการจัดวางภายใน วิหารพระเจ้าหมื่นองค์ ณ วัดมุงเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


 


              “Trai-Bhumi Lanna Interior Installation Art of Lanna temple in Wiharn Prajao Maun Maung, Chiang Rai”, The Projects creates works that represent the Lanna contemporary and the reflection of individuality of the researcher by using impression of Lanna’s arts and culture. The Trai-Bhumi is designed and symbolized into the every single  sacred object such as, candlesticks, etc., that can be seen only in Lanna style, Furthermore, each sacred object shows diversity of craftsmanship techniques in each gerne that represents real simplicity, true and wholesome of Lanna’s culture. The researcher was impressed and took the sacred objects as the starting point of inspiration to create interior design of Wiharn Prajao Maun Maung. From the summary of the Trai-Bhumi which is used to create canslesticks in front of the main Buddha Statue, it become a creative design thatmobilize all knowledge of the researcher to creative work which is call “Interior Installation Art”, the specific word that an honored professeur, Chalood Misamer has been prescribed only for Wiharn Prajao Maun Maung, Chiang Rai. The researcher used this word as the title of thesis which is considered as new creation that had never been existed before in the installation arts field.


               Understanding developments of central universe simulation was solved by the composition of various architectures within the castle of Khmer, its plan is related to the order of universe and be transform into painting in the roof of the traditional Thai Art, influents the researcher to have the initiative to utilize Installation Arts (as well as the installation of various buildings in the map of the Khmer castle) to create the interior design art, Wiharn Prajao Maun Maung. The researcher decided to use the "sacred" or the candlesticks which represent religious worship in Lanna’s methodology because there are the relationships in terms of both format and content, the creation and the interreligious involvement in the area, the unique techniques of craftsmanship which are interesting and different, including the creating of a new signification to the object itself. During the thesis operation, the researcher acquired deep acknowledge and understanding that allow the researcher to have strong decisions to reduce and eliminate his ego and that is the leap step of the researcher. The results are derived from the practice, research, analysis, continuous development of work and understanding the working process in every single part. It becomes the new style of creativity, “Trai-Bhumi Lanna, Interior Installation Art at Wiharn Prajao Maun Maung, Wat Mung Maung, Muang District,            Chiang Rai”.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ