การพัฒนารูปแบบการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา (Developing the Model of Assessment for Learning of Graduate Students)

Main Article Content

มารุต พัฒผล (Marut Patphol)

Abstract

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา และ 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 37 คน แบ่งเป็นผู้เรียนระดับปริญญาโท 21 คน ผู้เรียนระดับปริญญาเอก (กลุ่มที่ 1) จำนวน 7 คน และผู้เรียนระดับปริญญาเอก (กลุ่มที่ 2) จำนวน 9 คน ดำเนินการพัฒนารูปแบบ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การยกร่างรูปแบบ 3) การทดลองใช้รูปแบบ และ 4) การประเมินประสิทธิผล ของรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบองค์รวม (holistic rubrics) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Friedman - test และ Wilcoxon Signed Rank Test ผลการวิจัยพบว่า


  1. รูปแบบการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษาที่พัฒนาขึ้นเป็นระบบของการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษาที่บูรณาการกับการจัดการเรียนรู้ มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ระดับคุณวุฒิปริญญาโทและปริญญาเอก ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ 2) วิเคราะห์ระดับความสามารถผู้เรียน 3) กำหนดวิธีการประเมิน ผู้ประเมิน และแหล่งข้อมูล 4) สร้างเครื่องมือและเกณฑ์การประเมิน 5) ประเมินและให้ข้อมูลย้อนกลับ

  2. รูปแบบการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา มีประสิทธิผล ดังนี้

           2.1 ผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษาทั้ง 3 หลักสูตรมีพัฒนาการของการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบและด้านทักษะทางเทคโนโลยี รายด้านและโดยภาพรวมสูงขึ้นตามช่วงเวลาของการประเมินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


           2.2 ผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษาทั้ง 3 หลักสูตร มีผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หลังการทดลองใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05    


            2.3 ผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษาทั้ง 3 หลักสูตรมีความสามารถในการนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลการเรียนรู้ของตนเองอยู่ในระดับมากโดยผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.90 จาก คะแนนเต็ม 5 คะแนน


  1. รูปแบบการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษาความถูกต้อง (accuracy) และด้านความเป็นประโยชน์ (utility) อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน

          The objectives of this research were to 1) develop the model of assessment for learning of graduate students and 2) evaluate the effectiveness the model of assessment for learning of graduate students. Research samples were 37 graduate students, divided by 21 students in master degree and 16 students in doctoral degree. The 4 steps of methodologies were used for developing the model, the 1st was analyzing based – line data, the 2nd was designing the model, the 3rd was implementing the model, and the 4th was evaluating the effectiveness of the model. The holistic rubrics of learning outcomes were used for collecting data and analyzed by Friedman - test and Wilcoxon Signed Rank Test. The results found that:


  1. The model of assessment for learning of graduate students was the assessment system that integrates with instruction system and focus on developing the learning outcomes of graduate students fit in the subject or concept of learning and grad level such as master degree and doctoral degree. The model composed of 1) principles 2) objectives 3) processes 4) evaluation and 5) supporting factors. For the processes of the model, there were 5 steps such as the 1st was analyzing and defining the learning outcomes of the subject, the 2nd was analyzing the capacity of each student, the 3rd was specifying the assessment methods and criteria, the 4th was developing the tools for assessment, and the 5th was assessing and reflecting.

  2. The model of assessment for learning of graduate students was effectiveness.

            2.1 The learning outcomes of graduate students at during implementing the model were growth, statistical significant at .05 level.


            2.2 The learning outcomes of graduate students after implementing the model were higher than before, statistical significant at .05 level.


            2.3 Graduate students applied the assessment results to develop themselves at high level (= 3.90, maximum score = 5).


  1. The model of assessment for learning of graduate students was accuracy and utility at very high level (= 4.68, maximum score = 5). 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ