แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี (Guidelines for Development of Cultural Tourism Attractions in Cha-Am District in Phetchaburi Province)
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และ 2) เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามกับประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบุรี คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรคำนวณประชากรของคอแครน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 คน และระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพกับผู้ให้ข้อมูลหลัก 9 คน สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
- ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย พบว่า ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เนื่องจากมีสถานพยาบาลที่น่าเชื่อถือและเพียงพอในยามฉุกเฉิน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการคมนาคม เนื่องจากมีการเพิ่มสัญญาณไฟจราจรบริเวณสามแยกหรือสี่แยกเพื่อลดอุบัติเหตุ ด้านที่พักอาศัย เนื่องจากมีการประชาสัมพันธ์ความหลากหลายของที่พักอย่างชัดเจน ด้านอาหาร เนื่องจากมีการ ประชาสัมพันธ์และจัดทําคู่มือร้านอาหารที่ได้มาตรฐาน และด้านบุคลากร เนื่องจากการให้บริการของเจ้าหน้าที่การท่องเที่ยว
- แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี พบว่า 1) ด้านความเสมอภาค ควรมีการแสดงราคาสินค้าและบริการประเภทต่าง ๆ ให้ชัดเจนและให้เท่าเทียมกันทั้งคนในประทศและต่างประเทศ 2) ด้านการบริการ ควรมีการควบคุณภาพการให้บริการให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ รวมถึงมีการควบคุม ดูแลและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค 3) ด้านภาษา ควรมีการฝึกอบรมบุคลากรด้านภาษา และข้อมูลการท่องเที่ยวเพื่อที่สามารถให้ข้อมูล ข่าวสารแก่นักท่องเที่ยวได้อย่างถูกต้อง 4) ด้านกิจกรรมท่องเที่ยว ควรมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดประชาสัมพันธ์ถึงความหลากหลายของสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ให้เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวมากขึ้น และ 5) ด้านการเป็นตัวแทนชุมชนที่ดี ควรมีการรณรงค์ให้คนใน
ชุมชนร่วมกัน ดูแลและช่วยเหลือนักท่องเที่ยวเมื่อประสบภัย และเพิ่มการรักษาความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อสร้างความประทับใจและเป็นการดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางกลับมาท่องเที่ยวอีก
ข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างหลากหลาย เช่นวารสาร เฟสบุ๊คและ เว็บไซด์ เพื่อให้ประชาชน บุคลากรภายในหน่วยงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เห็นความสำคัญและสร้างความประทับใจให้แก่ประชาชน
The objectives of this study, “Guidelines for Development of Cultural Tourism Attractions in Cha-Am District in Phetchaburi Province” were to: 1) study the tourists’ needs on cultural tourism attractions in Cha-Am District, Phetchaburi Province, and 2) determine guidelines for development of cultural tourism attractions in Cha-Am District, Phetchaburi Province. The quantitative and qualitative research approaches were employed in this study. For quantitative research approach, the data were collected from 384 people and tourists in Phetchaburi Province by using a questionnaire. The sample size was calculated by using Cochran’s formula. For qualitative research approach, the data were collected from 9 key informants. The data were analyzed by using percentage, mean, and standard deviation.
The research results were as follows:
- Potential factors of cultural tourism attractions in Cha-Am District, Phetchaburi Province were at a high level. When the aspects was individually considered, they could be ranked in descending order of their means as follows: security of life and assets, accommodations, communication, touring activities, foods, and personnel.
- The guidelines for development of cultural tourism attractions in Cha-Am District, Phetchaburi Province were as follows: 1) equality aspect: product and service prices should be clearly displayed and equally charged for both Thai and foreign tourists, 2) service aspect: service quality with acceptable standard should be kept, including the infrastructure and public utilities, 3) language aspect: the personnel should be trained on language and tourism information so that they could provide the tourists accurate information, 4) touring activity aspect: the relevant organizations should organize the public relation on the variety of tourism attractions for the tourists, and 5) good community representative aspect: there should be a campaign for having people in community cooperate in taking care of tourists in case of suffering and in keeping more security for Thai and foreign tourists in various places to impress and attract the tourists so that they would be willing to come back to visit again.