“ซิมไบโอซิตี้” แนวทางการพัฒนาเมืองสีเขียวของสวีเดน สู่การออกแบบอย่างยั่งยืน (“SymbioCity” – Sweden’s Approach to Sustainable Urban Development)

Main Article Content

อรอุมา วิชัยกุล (Onuma Wichaikul)

Abstract

               บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายให้เห็นถึงหลักการ แนวความคิด และการถ่ายทอดแก่นแท้ของระบบการบริหารจัดการเมืองแบบซิมไบโอซิตี้ (SymbioCity) ในประเทศสวีเดน สู่การสร้างสุนทรียภาพเพื่อการออกแบบอย่างยั่งยืน อันมีผลลัพธ์ในการฟื้นฟูสภาพสังคมและจิตใจของมนุษย์ กระตุ้นจิตสำนึกที่ดีในการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด คำนึงถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลของมนุษย์ เมือง และธรรมชาติ


               จากการศึกษาระบบการบริหารจัดการเมืองแบบซิมไบโอซิตี้ในประเทศสวีเดน ซึ่งเป็นหลักการที่สามารถพลิกวิกฤตให้ประเทศสวีเดนรอดพ้นจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง อันเกิดจากจากการบริหารจัดการเมืองที่เป็นไปอย่างไร้ระเบียบ เช่น ปัญหาด้านมลพิษ ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม และการจราจรแออัด รัฐบาลของประเทศจึงได้มีการบูรณาการศาสตร์แขนงต่างๆเข้าด้วยกัน ทั้งในด้านการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบที่เน้นให้มีพื้นที่สีเขียว การจัดการระบบอุตสาหกรรมและพลังงาน และการจัดการขยะและน้ำเสียสู่การสร้างพลังงานชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการปลูกฝังทัศนคติของคนในประเทศให้เห็นความสำคัญของการอยู่ร่วมกันอย่างผสาน เกื้อกูลกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงทำให้กรุงสตอกโฮล์มกลายเป็นเมืองสีเขียวที่ยั่งยืน รวมถึงศึกษาตัวอย่างการนำหลักการไปปฏิบัติจนเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ทำให้ผู้เขียนสามารถวิเคราะห์หลักการสำคัญหรือแก่นแท้ของระบบการบริหารจัดการเมืองได้ว่าเป็นเรื่องของการจัดสรรทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อคนในประเทศ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน 3 ด้าน โดยไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ดังนี้ 1).พื้นที่ : การจัดการผังเมืองและสถาปัตยกรรม 2).พลังงาน : การจัดการขยะและน้ำเสียเพื่อการขนส่ง ยานพาหนะ พลังงานความร้อนและไฟฟ้า 3).ความงาม : ศิลปะและการออกแบบที่เป็นเครื่องมือกระตุ้นจิตสำนึกที่ดีในการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด หลักการสำคัญหรือแก่นแท้ของระบบการบริหารจัดการเมืองแบบซิมไบโอซิตี้ทั้ง 3 ด้านนี้ ได้ส่งผลต่อรูปแบบวิธีคิดของศิลปินและนักออกแบบชาวสวีเดนเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านเนื้อหา รูปแบบ และวิธีการสร้างสรรค์ที่ให้ความสำคัญต่อความยั่งยืนในการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลของสิ่งมีชีวิตภายในเมือง เห็นได้จากผลงานการออกแบบอย่างยั่งยืนขนาดใหญ่ อย่างเช่นงานสถาปัตยกรรมที่มีระบบการใช้พลังงานเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์และความร้อนจากร่างกายมนุษย์เพื่อให้ความอบอุ่นภายในอาคาร งานออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อทั้งผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม  ไปจนถึงผลงานออกแบบขนาดเล็กอย่างงานเครื่องประดับที่มีการใช้เรื่องราว สัญลักษณ์ ที่กระตุ้นเตือนถึงระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตภายในเมือง จึงทำให้เห็นว่าหลักการของระบบซิมไบโอซิตี้ สอดแทรกอยู่ในทุกมิติของการดำรงชีวิตของชาวสวีเดน อีกทั้งยังนำหลักการมาประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย


 


               This article aims to present principle, concept, and implementation of Sweden’s urban development approach called SymbioCity which focuses on harmonious and balanced urban living between human and nature.


               The principle of SymbioCity is initiated by the Swedish government with a goal to address the problem of unplanned urban growth. The disorganised expansion of the city results in consequential problems including pollution, environment and traffic. SymbioCity is an integrated and holistic approach to urban development which brings together landscape design to ensure dedicated green space, planned industrial and energy management, and effective biological energy production from waste management and water treatment. It also emphasises on raising awareness on the importance of shared and balanced living between human and nature. This makes Stockholm, the country’s capital, a model in sustainable urban development. By studying how the principle and concept is translated into an implementation, the author finds that underlying the success of Symbiocity is a holistic and integrated resources and environmental management for the maximum benefits of the people. There are three key components which are fundamental to the success: 1) space: urban and architecture planning; 2) energy: waste management and water treatment for public transportation, heat and electricity generation; and, 3) aesthetics: using art and design to raise awareness on resources management and balanced living. The components have a great impact on how Swedish artists and designers think. This is reflected through a sustainable design at a large scale such as a building which has a heating system running on solar power and human body heat. Products are designed with an aim to be both user and environmental friendly. Even in a smaller scale design such as jewellery, environmental friendly materials are also featured; and symbols are used to remind people of balanced ecological system. These examples show how the principle of SymbioCity is adopted and integrated in every aspect of life of Swedish people. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ