การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความยึดมั่นผูกพันในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการสอนแนะ ให้รู้คิดร่วมกับการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ (The Study of Mathematical Problem-Solving Ability and Student Engagement of Eleventh Grade Students through Learning Management by Using Cognitively Guided Instruction and Providing Feedback to Enhance Learning)

Main Article Content

วิมลพันธ์ ทรายทอง (Wimonphan Saithong)
ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี (Chommanad Cheausuwantavee)

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความยึดมั่นผูกพันในการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความยึดมั่นผูกพันในการเรียนหลังเรียนของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้กับกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สายการเรียนศิลป์ภาษา ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 2 ห้องเรียน เป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 41 คน และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 42 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยการสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ จำนวน 7 แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 7 แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จำนวน 10 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องในช่วง 0.67 – 1.00 มีค่าความยากง่ายในช่วง 0.36 – 0.73 ค่าอำนาจจำแนกในช่วง 0.21 – 0.31 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85  4) แบบวัดความยึดมั่นผูกพันในการเรียนของนักเรียน จำนวน 20 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องในช่วง 0.67 – 1.00  มีค่าความเชื่อมั่น 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบทางเดียว โดยใช้สถิติ Hotelling T2  ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความยึดมั่นผูกพันในการเรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความยึดมั่นผูกพันในการเรียนหลังการทดลองสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 


               The objectives of this research were as follows: (1) to compare the mathematical problem-solving ability and student engagement among eleventh grade students between the pretest and the posttest as a result of learning management by using cognitively guided instruction and providing feedback to enhance learning, (2) to compare the mathematical problem-solving ability and student engagement of eleventh grade students between the two groups that were or were not manipulated by using cognitively guided instruction and providing feedback to enhance learning. The sample were in this study consisted of two classrooms of eleventh grade students at Chomsurang Upatham school, the participants chosen by Cluster Random Sampling and the experimental group and one control group were chosen by Simple Random Sampling. The following instruments were used in this research; 1) lesson plans using cognitively guided instruction and providing feedback to enhance learning and accounting for seven plans; 2) lesson plans using traditional methods and accounting for seven plans; 3) the test for mathematical problem-solving ability which include ten items with the difficulty index of p=0.36-0.73, a discrimination index of r=0.21-0.31, and reliability of KR-20=0.85; 4) the rating scale questionnaires of student engagement contained twenty items, with reliability of KR-20=0.88. The data were analyzed using the mean, standard deviation and One-Way MANOVA. The research findings were as follows: (1)  the use of cognitively guided instruction and providing feedback to enhance learning ability and the posttest score was higher than pretest score t a statistically significant level of .05; (2) the student group instructed with cognitively guided instruction and providing feedback to enhance learning ability had a higher level of competency for solving mathematical problems as well as level of student engagement than the student group instructed by traditional learning method at a statistically significant level of .05

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

Chonthicha Jaipanat. (2013). patčhai bāng prakān thī song phon tō̜ khwāmsāmāt nai kān kǣ čhōt panhā thāng khanittasāt khō̜ng nakrīan chan matthayommasưksā pī thī nưng rōngrīan sāthit Mahāwitthayālai Sīnakharinwirōt. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 6(3), 286-304.
ชลธิชา ใจพนัส. (2556). ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 6(3), 286-304.
Chaiwat Auipa-arch. (2009). phon khō̜ng kān chai nǣo kān sō̜n næ hai rūk hit nai kān čhat kit čha kam kān rīan rū kha nit ta sāt thī mī tō̜ khwām sa ̄māt nai kān kǣ pan hā khanittasāt læ čhē ta kha ti tō̜ wi chā kha nit ta sāt khō̜ng nak rīan matthayommasưksā pī thī sō̜ng: Chulalongkorn University.
ชัยวัฒน์ อุ้ยปาอาจ. (2552). ผลของการใช้แนวการสอนแนะให้รู้คิดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cherdsak Aimaneerat. (2009). Kān hai khō̜ mūn yō̜n klap (Providing feedback). Songkla: Faculty of medicine Sonklanakarin University.
เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์. (2552). การให้ข้อมูลย้อนกลับ Providing feedback. สงขลา: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Chotima Noopig. (2016). Kān pramœ̄n phư̄a kān rīan rū : Kān tang kham thām læ kān hai khō̜ mūn yō̜n klap phư̄a song sœ̄m kān rīan rū. Journal of Education, Silpakorn University.
โชติมา หนูพริก. (2559). การประเมินเพื่อการเรียนรู้: การตั้งคำถามและการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้. Journal of Education, Silpakorn University.
Dusida Deebokkam. (2010). It t ipol khō̜ng lak sa na pao māi khō̜ng bi dā mān dā thī mī tō̜ phrưt ti kam læ khwām rū sưk yā krīan læ phon kān rīan khō̜ng nak rīan chan mat tha yom sưk sa ̄tō̜n plāi dōi mī lak sa na pao māi sūan ton khō̜ng nak rīan pen tūa præ ̄song phān: Chulalongkorn University.
ดุสิดา ดีบุกคำ. (2553). อิทธิพลของลักษณะเป้าหมายของบิดามารดาที่มีต่อพฤติกรรมและความรู้สึกอยากเรียนและผลการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยมีลักษณะเป้าหมายส่วนตนของนักเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่าน: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Tanomporn Laohajarassang. (2015). thak sa hǣng sa ta wat thī yī sipʻet phư̄a kān phat tha nā ʻāčhān khō̜ng ma hā witthayālai Chīang Mai. Chaing Mai University: Chaing Mai University.
ถนอมพร เลาหจัสแสง. (2558). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อการพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Tiparpa Klinkamhom. (2014). mōdēn chœ̄ng sāhēt khō̜ng khwām yưtman phūkphan khō̜ng nakrīan læ phon samrit thāngkān rīan thī kœ̄t čhāk ʻitthiphon khō̜ng khrū. Online Journal of Education.
ทิพย์อาภา กลิ่นคำหอม. (2557). โมเดลเชิงสาเหตุของความยึดมั่นผูกพันของนักเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เกิดจากอิทธิพลของครู. Online Journal of Education.
Piyanad Hemwised. (2008). kānsāng kitčhakam kān rīan kānsō̜n khanittasāt thī lư̄ak chai konlayut nai kān kǣ panhā thī lāklāi phư̄a sœ̄msāng khwāmsāmāt nai kān kǣ panhā thāng khanittasāt samrap nakrīan chan matthayommasưksā pī thī sām. Srinakarinwirot University.
ปิยะนาถ เหมวิเศษ. (2551). การสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เลือกใช้กลยุทธ์ในการแก้ปัญหาที่หลากหลายเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์ (กศ.ม. (คณิตศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2551.
Wijan Panit. (2013). sanuk kap kān rīan nai satawat thī yīsipʻet (พิมพ์ครั้งที่ 1.. ed.). Bangkok: Bangkok.
วิจารณ์ พานิช. (2556). สนุกกับการเรียนในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
Wichai Wongyai. (2014). kān khōt phư̄a kān rūkhit = Cognitive coaching (3rd edition).
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2557). การโค้ชเพื่อการรู้คิด = Cognitive coaching (พิมพ์ครั้งที่ 3). ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
Wipoo Monwong. (2016). kānphatthanā khwāmsāmāt nai kān kǣ panhā thāng khanittasāt khō̜ng nakrīan chan matthayommasưksā pī thī sō̜ng thī čhatkān rīanrū dōi chai kō̜ranī sưksā. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 1691-1704.
วิภู มูลวงค์. (2559). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 1691-1704.
Technology The Institute for the Promotion of Teaching Science and. (2015). sarup phonlakā rawi čhai PISA 2015. Bangkok: The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology: Ministry of Education.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). สรุปผลการวิจัย PISA 2015. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.
ONEC Office of the Education Council :. (2007). nǣothāng kānčhatkān rīanrū thī nēn phū rīan pen samkhan. Bangkok: Bangkok.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ: สำนักงาน.
Sukon Sintapanon. (2012). phatthanā thaksa kān khit - - tām nǣo patirūp kānsưksā (1st edition). Bangkok: Bangkok: Chulalongkorn University Press.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2555). พัฒนาทักษะการคิด--ตามแนวปฏิรูปการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 1.. ed.). กรุงเทพฯ: กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดจำหน่าย.
Sutharat Samattakarn. (2013). phonkān čhatkān rīanrū bǣp kānsō̜n næ hai rūkhit ( CGI ) rư̄ang withī rīang sapplīan læ withī čhat mū thī mī phon samrit thāngkān rīan khwāmsāmāt nai kān kǣ panhā læ khwāmsāmāt nai kān chư̄am yōng thāng khanittasāt khō̜ng nakrīan chan matthayommasưksā pī thī hok. Srinakarinwirot University.
สุธารัตน์ สมรรถการ. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) เรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. ปริญญานิพนธ์ (กศ.ม. (การมัธยมศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2556.
Aumporn Makanong. (2016). thaksa læ krabūankān thāng khanittasāt : kānphatthanā phư̄a phatthanākān (3rd edition). Bangkok: Bangkok: Chulalongkorn University Press.
อัมพร ม้าคนอง. (2559). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ : การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาษาต่างประเทศ
Thomas P. Carpenter Elizabeth Fennema, & Megan L. Franke. (1996). Cognitively Guided Instruction: A Knowledge Base for Reform in Primary Mathematics Instruction. The University of Chicago, 97(1).
Hattie John, & Timperley Helen. (2007). The Power of Feedback. Review of Educational Research, 77(1), 81-112. doi:10.3102/003465430298487
Eseryel D., Law V., Ifenthaler D., Ge X., & Miller R. (2014). An Investigation of the Interrelationships between Motivation, Engagement, and Complex Problem Solving in Game-based Learning. Educational Technology & Society, 17(1), 42-53.
Meena Kotecha. (2011). Enhancing student’s engagement through effective feedback, assessment and engaging activities. Msor Connections, 11(2), 4-6.